การติดตามประเมินผลและการผลักดันการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและบริการ ปี 2557 Monitoring, Evaluating and Furthering the Commercial Usage of Tourism and Hospitality Industry Research Projects in 2014

Main Article Content

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์

Abstract

การติดตามประเมินผลและการผลักดันการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2557 มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพื่อสังเคราะห์โครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2555-2557 2) เพื่อติดตามประเมินผลโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2557 และ 3) เพื่อผลักดันผลการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผสมผสานกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเคราะห์โครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2555-2557 จะใช้แบบบันทึกข้อมูลในการเก็บรวบรวม และสังเคราะห์ข้อมูล จากนั้นทำการสังเคราะห์ข้อมูลจำแนกตามเนื้อหาตามประเด็นที่กำหนดไว้ แล้วทำการวิเคราะห์ และนำเสนอด้วยสถิติพรรณนา ส่วนการติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2557 และการผลักดัน คัดเลือกงานวิจัยโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จะใช้แบบสำรวจ แบบประเมิน แบบติดตาม และแบบคัดเลือก รวมทั้งการสัมมนาแบบมีส่วนร่วม (Focus group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลการดำเนินงานวิจัย บุคลากรของสำนักประสานงานโครงการวิจัยฯ และคณะวิจัย ให้ข้อมูลการติดตามผล พร้อมทั้งสัมมนาแบบมีส่วนร่วม บุคลากรสำนักประสานงานฯ นักวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม ผู้ประสานงาน และรองผู้ประสานงานฯ จากนั้นวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการสังเคราะห์โครงการวิจัยจำแนกตาม ยุทธศาสตร์ พื้นที่ และผลผลิต ซึ่งพบว่า โครงการวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปี 2555-2557 มีประเด็นการศึกษาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 และยุทธศาสตร์ที่ 1 ของยุทธศาสตร์การวิจัยการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559) มากที่สุด แต่มีประเด็นที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) ในยุทธศาสตร์ที่ 2 โดยเป็นการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือมากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนกลุ่มที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน ซึ่งผลผลิตของการศึกษาส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ ยุทธศาสตร์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รวมถึงแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด โดยรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ มีการศึกษาค่อนข้างมากกว่าการท่องเที่ยวในรูปแบบอื่นๆ ตลอดสามปีที่ผ่านมา
ผลการติดตามและประเมินผล พบว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปี 2557 ได้สนับสนุนทุนวิจัย 31 แผนงาน ได้ผลผลิตงานวิจัย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ 3) เส้นทางท่องเที่ยว 4) คู่มือเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการ 5) ผลผลิตอื่นๆ รวมทั้งได้องค์ความรู้ 8 ด้าน ได้แก่ 1) องค์คามรู้ด้านการเพิ่มศักยภาพ 2) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการท่องเที่ยว 3) ความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว 4) การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน 5) การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน 6) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการสิ่งแวดล้อม 7) การใช้เทคโนโลยีและสื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว และ 8) การท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษของนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ได้งานวิจัยที่โดดเด่นมาก 6 แผนงาน และได้นักวิจัยดีเด่น 9 คณะ ทั้งนี้ ผลงานวิจัยได้เผยแพร่ด้วยสื่อวิดีทัศน์ เผยแพร่ในการประชุมวิชาการ และนำเสนอต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผลักดันผลการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 3 เส้นทาง และผลการวิจัยหลายแผนงานสามารถนำสู่การใช้ประโยชน์ ทั้งด้านนโยบาย ด้านพาณิชย์ ด้านสาธารณสุข และด้านวิชาการ


The objectives of this research were to: 1) synthesize structure of tourism and services industry research in 2012-2014, 2) evaluate and monitor the tourism industry and services research projects, in 2014, and 3) push and select research on tourism and services industry for commercial exploration research projects. Research model was quantitative research combined with qualitative research by synthesizing the tourism and services industry research projects in 2012-2014 by collecting data and synthesizing data. The data was synthesized based on the content provided. Then analyze and present by descriptive statistics and evaluation on tourism and services industry research in 2013 and pushing and selection of research projects on tourism and services industry to exploit commercial by using surveys, monitoring evaluation, and selection process, focus group, and in-depth interviews. The primary data was collected from a panel of experts that evaluated the research, office of research, development personnel and the researcher group to provide data, attend participated seminar, Researchers and scholars Coordinating Bureau Staffs, experts, in-depth interviews, industrial dept, directors, coordinator and deputy coordinator. Then a quantitative analysis by descriptive statistics and qualitative content analysis were conducted.


From the synthesis of research projects classified by strategic, area, and production, it was found that the research projects was funded by Thailand Research Fund (TRF), 2012-2014, consistent with the education issues of the 3rd strategy of National Tourism Development Plan (2012-2016) and strategy of the National Tourism Research, (2012-2016) most, but with the issue consistent with the national strategy Policy and Strategic, 8th edition (2013-2016), in strategy 2 by mostly conducting a study in the Northern region, especially in the 1st northern provinces group; Chiangmai, Mae Hong Son, Lampang, and Lamphun. The output of the study will mainly take the form of planning strategy, recommendations, policy and including the development of the tourist attractions. There have been more studies done on culture and history tourism than other types of travel during the past 3 years.
From the results of the monitoring and evaluation, it was found that National Research Council of Thailand (NRCT) with Thailand Research Fund (TRF) Year 2014 has supported research funding of 31 projects yield; 5 groups of research result as followed 1) policy recommendation, 2) the development of the tourism industry, 3) journey routes, 4) linking tourism with neighboring countries, 5) strengthening the community, 6) environmental conservation, restoration, and management, and 8) tourism according to the special interest group of tourists. Additionally, 6 outstanding programs and 9 outstanding researchers were gained. The research results were published by video media, in conferences, and presented to the relevant sectors and research into the 3 routes of commercial explorations. These findings could also lead to many beneficial purposes in the aspects of policy, commercial, public health, and academics.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กิตตินรรัตน์ จ. (2018). การติดตามประเมินผลและการผลักดันการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและบริการ ปี 2557: Monitoring, Evaluating and Furthering the Commercial Usage of Tourism and Hospitality Industry Research Projects in 2014. Journal of Applied Economics and Management Strategy, 4(1), 15–32. Retrieved from http://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/1052
Section
บทความวิจัย (Research Article)

Most read articles by the same author(s)