Study of Credit Management and Use of Information Technology, Including the Operational Efficiency of the Agricultural Cooperative in Northern Thailand การศึกษาการบริหารจัดการสินเชื่อและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตร

Main Article Content

Kowit Jenkrongtham
Prasert Janyasupab
Snit Sitti
Piyawan Siriprasertsin

Abstract

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสินเชื่อและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสหกรณ์การเกษตร ใช้กลุ่มตัวอย่างจากสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ 212 สหกรณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตร จากข้อมูลปริมาณธุรกิจของสหกรณ์เกษตรกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากรายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงินสหกรณ์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยใช้ตัวแบบ DEA (Data Envelopment Analysis) นำผลการศึกษาที่ได้มาเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการบริหารจัดการสินเชื่อและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสหกรณ์การเกษตรแล้วสรุปผล
ผลการศึกษาการบริหารจัดการสินเชื่อและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสหกรณ์การเกษตร พบว่า การบริหารจัดการสินเชื่อในส่วนการให้บริการเบื้องต้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ได้แก่ มีความรวดเร็วในการพิจารณาและอนุมัติเงินกู้ การติดตามหรือการแจ้งหเตือนก่อนถึงกำหนดชำระหนี้ มีความสามารถในการจัดการลูกหนี้ คณะกรรมการสหกรณ์มีผลต่อการดำเนินงานธุรกิจสินเชื่อ แต่ยังมีปัญหาอยู่บ้างในส่วนการผิดนัดชำระหนี้ของสมาชิกมีมาก การแข่งขันการดำเนินธุรกิจสินเชื่อจากหน่วยงานภายนอก เช่น ธนาคาร และเงินกู้นอกระบบ ความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิก และการสนับสนุนจากภาครัฐยังมีไม่มากพอ ในส่วนการใช้งานซอฟต์แวร์ประยุกต์ในเบื้องต้นอยู่ในระดับดี ซอฟต์แวร์ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน การจัดเก็บและแสดงผลข้อมูล ได้ถูกต้อง มีความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูล และช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติงานได้มาก แต่การใช้งานในภาพรวมก็ยังมีปัญหาอยู่ค่อนข้างมาก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน ไม่สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์อื่นๆได้ และยังไม่สามารถขยายการให้บริการได้ดีเท่าที่ควร เวลาซอฟต์แวร์มีปัญหาต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ไข
ผลการศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตร พบว่า สหกรณ์การเกษตรส่วนใหญ่ มีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ โดยมีสหกรณ์การเกษตรที่มีระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับต่ำที่สุด จำนวน 70 สหกรณ์ และมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 46 สหกรณ์ และเมื่อนำระดับประสิทธิภาพ มาเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารจัดการสินเชื่อและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสหกรณ์การเกษตร พบว่า การบริหารจัดการสินเชื่อและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสหกรณ์การเกษตรมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นอย่างมาก แสดงว่าสหกรณ์การเกษตรส่วนใหญ่มีการบริหารจัดการและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสหกรณ์การเกษตรค่อนข้างดี แต่ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรค่อนข้างต่ำ


 


ABSTRACT
The first objective of the present study was 1) to study credit management and the use of information technology by agricultural cooperatives. Questionnaires were handed out to the experimental groups consisting of 212 agricultural cooperatives in northern Thailand for the data collection. The data were analyzed using descriptive statistics. The second objective was 2) to study the efficiency of the agricultural cooperatives by employing the Data Envelopment Analysis (DEA) method. The business content of prototype agricultural cooperatives was calculated by analyzing the performance reports and financial statements from the Cooperative Auditing Department. The results from the second study were compared with the study of credit management and the use of information technology by agricultural cooperatives in order to draw conclusions.
The results in terms of credit management and the use of information technology by agricultural cooperatives revealed that they were able to manage credit well on a fundamental level, and were able to quickly consider and approve loans, track and notify people prior to the due date, and manage debtors. These successes could be attributed to the cooperative committee. However, there were persisting problems; for example, there was a large number of debt defaults and loan competitions from external agencies, including banks and “loan shark” financial institutions. Moreover, the repayment ability and governmental efforts were also insufficient. Even though most of the cooperatives were able to adequately utilize uncomplicated application software, and appropriately display, store, and safeguard data that could reduce unnecessary workloads and extra procedures to a certain degree, they still struggled with overall management because much of the application software was unsuitable for particular work and was incompatible with other devices. This placed a limit on their service extension and also took a long time to resolve.
The study results in terms of the efficiency of agricultural cooperatives revealed that most of them had low efficiency. There were 70 cooperatives with the lowest efficiency and 46 cooperatives with low efficiency. When comparing the efficiency level with the analysis results of credit management and the use of information technology, the results revealed that the average score for credit management and the use of information technology was significantly greater than that regarding efficiency. It can be concluded that most agricultural cooperatives were able to manage their operations well and were relatively proficient in using information technology, but still exhibited relatively low efficiency.


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)