การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการ กลั่นน้ำมัน โดยการเปลี่ยนสารกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ของโรงกลั่นน้ำมัน ที จังหวัดระยอง A Feasibility Study of Investment on Refinery Efficiency Improvement by Changing Hydrogen Sulfide Scavenger of T Refinery Plant Changwat Rayong

Main Article Content

ธีรสาร จุรีกานนท์
พิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์

Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพทั่วไปเกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมัน ที และพิจารณาด้านเทคนิคในการเปลี่ยนสารกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน รวมถึงทดสอบความสามารถในการรับความเปลี่ยนแปลงของการลงทุน โดยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากวิศวกรโรงกลั่นน้ำมัน ที และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานต่างๆ ของโรงกลั่นน้ำมัน ที ผลการศึกษาพบว่า สารประเภทเมทิลไดเอทาโนลามีน (Methyl Diethanolamine: MDEA) ซึ่งใช้พลังงานไอน้ำในการคืนสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่น้อยกว่าสารประเภท สารประเภทไดเอทาโนลามีน (Diethanolamine: DEA) ทำให้ลดปริมาณไอน้ำลงได้ 7,806 กิโลกรัมต่อชั่วโมงส่งผลให้ประหยัดไอน้ำได้เท่ากับ 68,383,399บาทต่อปี ผลการศึกษาด้านการเงินโดยกำหนด อายุโครงการ 20 ปี และอัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 10.34พบว่าโครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 114,601,935บาท อัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 17.07อัตราผลตอบแทนภายในที่ปรับค่าแล้วร้อยละ 12.59 และดัชนีความสามารถในการทำกำไร 1.53 แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนพบว่าผลตอบแทนลดลงได้ร้อยละ 22.51 ต้นทุนในการดำเนินการต้นทุนในการลงทุนและต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 64.64, 52.74 และ 29.04ตามลำดับ สรุปได้ว่าโครงการมีความสามารถรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับต้นทุนและผลตอบแทนได้มาก


This study aimed to explore the operation of T refinery plant in order to investigate technology aspects of changing Hydrogen Sulfide scavenger with higher efficiency and to perform financial feasibility and ability to deal with uncertainty of this project. This study utilized primary data obtained from participant observation and in-depth interview with process engineer of T refinery plant and secondary data obtained from reports of T refinery plant. The study result indicated that MDEA type consumed less of steam energy for regeneration than DEA type at 7,806 kilogram per hour. The financial feasibility under project life of 20 years and discount rate of 10.34 percent showed that NPV was 114,601,935 baht, IRR was 17.07 percent, MIRR was 12.59 percent, and PI was 1.53. Thus, the project was worthy for investment. The SVT showed that total revenue could be down 22.51 percent, operating cost, investment cost and total cost could be up 64.64, 52.74 and 29.04 percent respectively. Therefore the project had the ability to sustain quite high variability on both revenue and cost.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จุรีกานนท์ ธ., & ทวีวัฒน์ พ. (2014). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการ กลั่นน้ำมัน โดยการเปลี่ยนสารกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ของโรงกลั่นน้ำมัน ที จังหวัดระยอง: A Feasibility Study of Investment on Refinery Efficiency Improvement by Changing Hydrogen Sulfide Scavenger of T Refinery Plant Changwat Rayong. Journal of Applied Economics and Management Strategy, 1(1), ุ66–73. Retrieved from http://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/959
Section
บทความวิจัย (Research Article)

Most read articles by the same author(s)