Spending Habits of Migrant Labor in Tak Special Economic Development Zone พฤติกรรมการใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติ ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานข้ามชาติถูกกฎหมายและมีความสมัครใจจะให้ข้อมูลที่ทำงานอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากจำนวน 76 คน การวิเคราะห์ใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคุณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เข้ามาทำงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากเนื่องจากในประเทศของแรงงานมีค่าจ้างต่ำทำให้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีความยากจนและไม่มีงานทำ แรงงานข้ามชาติจึงต้องการมีรายได้ มีงานทำและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และคนที่ชักชวนให้เดินทางมาทำงาน คือ ญาติพี่น้อง แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากมาแล้วมากกว่า 3 ปี สำหรับรายได้ของแรงงานข้ามชาติจะมาจากการทำงานโดยเฉลี่ยจะมีรายได้เท่ากับ 277,585.81 บาท/ปี และมีรายจ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 154,617.81 บาท/ปี สำหรับพฤติกรรมในการใช้จ่ายส่วนใหญ่จะใช้จ่ายด้านอาหาร/เครื่องดื่มและยาสูบ รวมถึงการใช้จ่ายในเรื่องของการเสี่ยงโชค และของใช้ส่วนบุคคล/เครื่องนุ่งห่ม/รองเท้า และเมื่อพิจารณาแหล่งที่แรงงานข้ามชาติไปใช้จ่ายมากที่สุด คือ ร้านขายของชำ ตลาดสดและตลาดนัด แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการออมเงินด้วยการซื้อทอง การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคุณ พบว่า การใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติขึ้นอยู่รายได้ เงินออมและระดับการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ: แรงงานข้ามชาติ พฤติกรรมการใช้จ่าย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
ABSTRACT
This study aimed to explore the spending habits of migrant labor in the Tak Special Economic Development Zone in Thailand. A set of questionnaires was used for the data collection administered to 76 legal migrant laborers, who voluntarily provided information about the Tak Special Economic Development Zone. Obtained data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis. The findings showed that most of the respondents could not earn enough money for their livelihoods and they sought higher income, jobs, and a better quality of life. Most of the respondents were persuaded by relatives to work in the Tak Special Economic Development Zone, and most of them have been working in special economic zones for more than 3 years. The average income was 277,585.81 baht per year and the average expenses were 154,617.81 baht per year. They mostly spent money on food and beverages, tobacco, clothing, and shoes at a grocery store, a fresh market, and a weekend market. Most of them saved money by buying gold. Regarding the multiple regression analysis, it was found that the expenses of the migrant laborers depended on income, savings, and educational attainment with a statistical significance level at 0.05.
Keywords: Migrant Laborers, Spending Habits, Tak Special Economic Development Zone