A Cost-Benefit Analysis for the Development of Sustainable Tourism at the Wang Nam Khiao-Pha Khao Phu Luang Forest Reserve การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว-ป่าเขาภูหลวง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษามูลค่าความเต็มใจจ่ายของนักท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว-ป่าเขาภูหลวง และ 2) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว-ป่าเขาภูหลวง โดยอาศัยข้อมูลจากการสำรวจนักท่องเที่ยวตัวอย่างจำนวน 1,035 คน โดยผลการศึกษาทำให้สามารถประมาณการนักท่องเที่ยวมีค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว-ป่าเขาภูหลวงเฉลี่ยเท่ากับ 771.26 บาท/คน และค่ามัธยฐานเท่ากับ 633.59 บาท/คน ดังนั้น หากในการท่องเที่ยวมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมโดยอาศัยค่ามัธยฐานของความเต็มใจจ่ายที่ระดับราคา 650 บาท/คน ประมาณได้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในพื้นที่ประมาณ 78,723 คน/ปี และเมื่อนำผลการศึกษามาประมาณถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาการท่องเที่ยวเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนในการพัฒนาที่มีมูลค่าเท่ากับ 339.08 ล้านบาท ปรากฏว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวดังกล่าวมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 238.71 ล้านบาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทาง (BCR) มีค่าเท่ากับ 1.81 รวมทั้ง อัตราผลตอบแทนทางภายในของโครงการ (IRR) มีค่า 16.38 ซึ่งดัชนีชี้วัดความคุ้มค่าของการลงทุนทั้ง 3 ตัวชี้วัด แสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมหรือความคุ้มค่าในการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว-ป่าเขาภูหลวง
คำสำคัญ: การพัฒนาการท่องเที่ยว ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว-ป่าเขาภูหลวง ความเต็มใจจ่าย
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน
ABSTRACT
The objectives of this research were 1) to study the willingness of tourists to pay for sustainable tourism at the Pha Wang Nam Khiao-Pha Khao Phu Luang Forest Reserve, and 2) to conduct a cost-benefit analysis from a developed model for sustainable tourism in that reserve. Data were collected from a sample of 1,035 tourists visiting the reserve. The results of this research could lead to an estimation of the willingness to pay for sustainable tourism in the reserve, using the following statistics, which revealed the following: the arithmetic mean and median were 771.25 and 633.59 Baht per person, respectively. Therefore, if the charge is calculated using the median of the willingness to pay at the price of 650 Baht/person, it can be estimated that 78,723 tourists will visit the study area annually. In addition, when the cost-benefit analysis was conducted by considering the expected benefit from developed tourism compared with the cost of developed tourism of 339.08 million Baht, this project is worth investing in as reflected by financial ratios as follows: a net present value (NPV) of 238.71 million Baht, a benefit-cost ratio (B/C ratio) of 1.81, and an internal rate of return (IRR) of 16.38. These three indicators suggest that this project for tourism development in the Pha Wang Nam Khiao-Pha Khao Phu Luang Forest Reserve is suitable and worth investing in.
Keywords: Tourism Development, Wang Nam Khiao-Pha Khao Phu Luang Forest Reserve,
Willingness to Pay, Cost-Benefit Analysis