The Relationship between Macroeconomic and Bank-specific Determinants with Non-Performing Loans: Evidence from Thailand Banking Sector ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมหภาค และลักษณะเฉพาะของธนาคารพาณิชย์ไทยกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ธนาคารพาณิชย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ถือเป็นผลผลิตที่ไม่ดีของระบบธนาคารพาณิชย์ และส่งผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมหภาคและลักษณะเฉพาะของธนาคารพาณิชย์ไทยกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ด้วยวิธี Autoregressive Distributed Lag (ARDL) โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาส ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 ถึง 2562 ซึ่งพบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่าง NPLs กับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมหภาคและลักษณะเฉพาะของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมหภาคที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับ NPLs ประกอบไปด้วย อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่อัตราการว่างงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ NPLs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยทางด้านลักษณะเฉพาะของธนาคารพาณิชย์ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับ NPLs ประกอบไปด้วย อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม จำนวนเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ NPLs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ รวมไปถึงภาครัฐ และผู้กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมไปถึงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุม NPLs ตลอดจนผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในระยะยาว
ABSTRACT
Commercial banks are an important industry for economic development in Thailand. Non-Performing Loans (NPLs), therefore, endanger the commercial banking system and affect overall economic scenery. This research studies the relation of macroeconomic and bank-specific determinants with NPLs base on quarterly data from 2005-2019 using autoregressive distributed lag (ARDL). The study revealed that there is a long-run equilibrium relationship of NPLs with Macroeconomic and bank-specific determinants. While the relationship between macroeconomic determinants and NPLs is significantly considered to be negative with gross domestic product (GDP) growth rate and exchange rate, the unemployment rate is considered to be significantly positive with NPLs. The direction of bank-specifics, i.e., return on assets, total loan and capital adequacy ratio are considered to be opposite NPLs and the lending interest rate affects NPLs positively and significantly. The results suggested that commercial banks along with the government and the policymakers should pay attention to guidelines for lending interest rates including the fluctuation of exchange rates, in order to restrict the NPLs and to ensure country’s financial stability in the long run.