Eco-efficiency in Agroforestry System, Uttaradit Province

Main Article Content

Phanin Nonthakhot

Abstract

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของเกษตรกรสวนระบบวนเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์จำนวน 60 ราย โดยใช้การวิเคราะห์การโอบล้อม (DEA) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มหรือกำไรสุทธิจากการผลิตพืชในระบบวนเกษตรเปรียบเทียบกับปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับระดับความเข้มข้นการทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ ความมั่นคงทางอาหารและต้นทุนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่ที่มีระดับความเข้มข้นการทำการเกษตรเชิงพาณิชย์มากที่สุด มีการผลิตเป็นแบบเชิงเดี่ยว มีพื้นที่วนเกษตร และมีความมั่นคงทางอาหารน้อยที่สุดเมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจมีค่าน้อยที่สุดคือร้อยละ 54.67 ในขณะที่พื้นที่ที่มีความเข้มข้นการทำการเกษตรเชิงพาณิชย์รองลงมา มีการพึ่งพาอาหารจากสวนวนเกษตรและมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มีค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจมากกว่า โดยมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจเท่ากับร้อยละ 72.72 และ 81.85 ตามลำดับ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปสร้างทางเลือกให้เกษตรกรวางแผนการใช้พื้นที่เกษตรร่วมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ABSTRACT


This research was to examine eco-efficiency in agroforestry system of 60 farmers in Uttaradit province.  The analysis approach in this study was conducted using Data Envelopment Analysis Program (DEAP) as an analysis for comparison between marginal revenue or net profit and production inputs effecting on environment.  The results found that eco-efficiency in agroforestry system was negatively relative in the commercial agricultural production system, food security and environmental cost accounting.  These results are shown that a high commercial agricultural production area would have a low level of eco-efficiency (54.67%). However, the lower commercial agricultural production area would have a higher level of eco-efficiency (72.72% and 81.85%).  It could be concluded that farmers can make decision for balancing between agricultural land management and natural resources conservation.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)