Factors Affecting Well-Being of Employees in Bangkok ปัจจัยที่ส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Angkana Thananupappun
Chudapon Sonpukdee

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านการออมและหนี้สิน ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ปัจจัยความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ และตามปัจจัยการออมและหนี้สินของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตที่มีผลต่อความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ พนักงานที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรสองชุด การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเพศ รายได้ต่อเดือน การมีบุตร อายุงาน ตำแหน่งงาน ส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุข  ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยอายุ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนผู้พึ่งพิงในครัวเรือน ระดับการศึกษา แผนกงาน ลักษณะการจ้างงาน  การออมทรัพย์ จำนวนเงินออม ภาระหนี้  ส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขแตกต่างกัน และปัจจัยคุณภาพชีวิตส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร ในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ ความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน ผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ลักษณะการบริหารงาน สภาพการทำงาน ความภูมิใจในองค์การ และความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว


ABSTRACT


This research aimed to (1) study demographic factors, savings and debts factors, quality of work life factors, and factors of well-being (2) compare the well-being of office workers in Bangkok, classified by demographic, savings and debts factors, and (3) study the factors of quality of life affecting well-being of office workers in Bangkok.  Samples of the research are 400 office workers working in Bangkok.  Questionnaire was used to collect data.  Data were analyzed using descriptive statistics, namely frequency, percentage, and standard deviation, and inferential statistics, namely T-test, One-way ANOVA, and Multiple Regression at level of significance 0.05.


There are no different in the sample’s attitude in the respect of well-being in these matters; gender, income, number of children, working experiences and job position.  On the other hand, the research found that age, marital status, number of household members, number of household dependents, education level, work department, employment characteristics, savings, amount of savings, and debt burden, make a difference in sample’s attitude in well-being.


The research also found that career growth, adequate and fair compensation, management structure, safe and healthy working environment, organizational pride, total life space, are affecting well-being of office workers in Bangkok in the same direction.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)