Consumers’ Knowledge, Attitudes and Willingness to Pay for Bio–Plastic Packaging ความรู้ ทัศนคติ และความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ

Main Article Content

Kuntonrat Davivongs
Chakrit Potchanasin
Thanaporn Athipanyakul
Chompunuch Nantajit

Abstract

บทคัดย่อ


           บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาตร์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลและแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอนาคตเพื่อยกระดับมูลค่าของสินค้าเกษตร อย่างไรตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงการค้าและอุตสาหกรรมยังต้องการข้อมูลในส่วนของผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจในการพัฒนาในอนาคต บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม การรับรู้ และทัศนคติของผู้บริโภค และวิเคราะห์ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริโภคตัวอย่างจำนวน 458 ราย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา วิเคราะห์เชิงพรรณนาและการประเมินความเต็มใจจ่ายแบบสองราคา ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีต่อพลาสติกชีวภาพ และตระหนักถึงปัญหาจากการใช้พลาสติกเคมีภัณฑ์ แต่ผู้บริโภคยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพ และผู้บริโภคมีความเต็มใจจ่ายเท่ากับ 6.697 บาทต่อกล่อง โดยปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและความตระหนักด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น พฤติกรรมการแยกขยะ พฤติกรรมหลังใช้กล่องพลาสติก และความตระหนักโดยรวมต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพมากยิ่งขึ้น และข้อมูลความเต็มใจจ่ายนี้ผู้ประกอบการพลาสติกชีวภาพสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารต้นทุนและการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพให้เหมาะสมต่อไป


คำสำคัญ: ความเต็มใจจ่าย บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ร่วมจากอ้อย


ABSTRACT


         Bio-plastic packaging is a co-product from cane and sugar industry which is consistent with the 20 years National Strategy and the Cane and Sugar Industry Strategy plan as a new S-Curve industry to enhance agricultural product value.  However, commercial development of the industry needs more information from the consumers’ side to support development decision and direction.  Therefore, this paper aims to investigate behavior, knowledge, and attitudes of the customers towards bio-plastic packaging including analysis of their willingness to pay (WTP).  The study used the data collected by interviewing 458 consumer samples in Bangkok, Chiangmai, Khonkaen and Songkhla provinces. Investigation had applied descriptive analysis and double bounded method to evaluate WTP.  The study results revealed that the consumers had positive attitude towards bioplastics and had awareness regarding problems from chemical plastic uses. However, the consumers had limited knowledge about bioplastics knowledge.  In addition, the consumer WTP was 6.697 Baht per box. Also, the WTP had significantly affected by the factors of consumers’ behavior and awareness regarding to environmental problems.  The factors included e.g., waste separation behavior, littering method and general awareness of environment. Hence, policy makers should promote more bioplastic information to the customers and bioplastic entrepreneurs could use WTP result as proxy for cost management and pricing their bio-plastic products accordingly.


Keywords: Willingness to Pay, Bio-plastic Packaging, Sugarcane Co-product


เอกสารอ้างอิง (Reference)


กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). เอกสารอัดสำเนา.


กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานพิมพ์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ชัยวิรัตน์ มุ่งจันทร์. (2552). การศึกษาปัจจัยที่กำหนดและขนาดของความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อบำบัดน้ำเสียในคลองแสนแสบ. (ปริญญานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).


ณัฐนันท์ อภินันท์วัฒนกูล. (2563). พลาสติกย่อยสลายได้ทางออกในยุคสิ่งแวดล้อมก็ต้องใส่ใจ อนามัยก็ต้องรักษา. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565 จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/7129.


ติยพร ชูโฉม. (2562). ความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับโยเกิร์ตที่ใช้บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).


นภสม สินเพิ่มสุขสกุล. (2563). ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของมาตรฐานการผลิตอ้อยอย่างยั่งยืน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.


พันชิด ปิณฑะดิษ, มนตรี สิงหะวาระ, อารีย์ เชื้อเมืองพาน และ วัสพล วงษ์ดีไทย. (2561). ความเต็มใจจ่ายและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวปลอดสาร (Willingness to Pay and Factors Affecting Pesticide-free Rice Buying). Journal of Liberal Arts, Maejo University, 6(1), 149-162.


เพ็ญพร เจนการกิจ, สันติ แสงเลิศไสว, กัมปนาท วิจิตรศรีกมล, สุวรรณา สายรวมญาติ และ อัครพงศ์ อั้นทอง. (2558). การประเมินผลประโยชน์ของครัวเรือนจากการลดความเสี่ยงภัยน้ำท่วมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์, 22 (1). 1-25.


ราชกิจจานุเบกษา. (13 ตุลาคม 2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561). ประกาศราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 136, ตอนที่ 82 ก).


เรณู สุขารมณ์. (2541). วิธีการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่าสินค้าที่ไม่ผ่านตลาด. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 16 (4), 89-117.


ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2564). อุตสาหกรรมพลาสติก. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564 จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Petrochemicals /Plastics/IO/io-plastics-21.


สถาบันพลาสติก. (2563). รายงานการศึกษาเชิงลึกอุตสาหกรรมพลาสติก ปี 2563. เอกสารอัดสำเนา.


สันติ แสงเลิศไสว. (2560). ทัศนคติและความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อสินค้าข้าวบรรจุถุงที่ได้รับการรับรองการค้าที่เป็นธรรมในรูปแบบเฉพาะของประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.


สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2560). รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Hub) จากอ้อยและน้ำตาลทราย. กระทรวงอุตสาหกรรม.


สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2563). สถานการณ์พลาสติกชีวภาพ. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564 จาก http://www.ocsb.go.th/th/cms/detail.php?ID=11782&SystemModuleKey=bioindustry.


สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2564). รายงานสถานการณ์การปลูกอ้อยปีการผลิต 2563/64. กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.


สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2564). เอกสารคณะทำงานศึกษาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ: กรณีศึกษาอ้อย. กระทรวงอุตสาหกรรม.


สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2565). ข้อมูลราคาอ้อยขั้นต้นและราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปีการผลิต 2544/45-2564/65. กระทรวงอุตสาหกรรม.


สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). 8 สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน: จำนวนครัวเรือน จำแนกตามภาคและจังหวัด พ.ศ. 2555 – 2564. [Excel file]. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564 จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx


อารดา ทางตะคุ. (2558). ความเต็มใจจ่ายสาหรับซื้อรถยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).


Ellison, B., B. Kirwan and A. Nepal. (2015). Consumers' Willingness to Pay for Bioplastic Plant Containers: An Experimental Auction Approach. AAEA & WAEA Joint Annual Meeting, July 26-28, San Francisco, California 205670, Agricultural and Applied Economics Association.


European Bioplastics. (2021). Fact sheet: What are bioplastics? [Electronic fact sheet]. Retrieved March 10, 2022 from https://docs.european-bioplastics.org/publications /fs/EuBP_FS _What_are_bioplastics.pdf.


Hanemann, M. (1985). Some issues in continuous - and discrete - response contingent valuation studies. Northeastern Journal of Agricultural and Resource Economics, 14 (1), 5-13.


Hwang, S. J., S. M. Lee, H. I. Lee, J. G. Kim, and S. H. Lee. (2021). Willingness to Pay for Bioplastic Packaged Home Meal Replacement. Journal of Agricultural, Life and Environmental Sciences. 31, 25-41. Retrieved from https://doi.org/10.22698/jales.20210003


Kainz, U. W. (2016). Consumers’ Willingness to Pay for Durable Biobased Plastic Products: Findings from an Experimental Auction. (Doctor of Philosophy’s thesis, Technischen Universität München).


Mitchell, R. C. and R. T. Carson. (1981). An Experiment in Determining Willingness to Pay for National Water Quality Improvements. Washington D.C.: Office of Strategic Assessment and Special Studies.


Notaro, S., E. Lovera and A. Paletto. (2022). Consumers’ preferences for bioplastic products: A discrete choice experiment with a focus on purchase drivers. Journal of Cleaner Production. 330. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2021.129870


Plastics Europe. (2021). Plastics - the Facts 2021: An analysis of European plastics production, demand and waste data. [Electronic fact sheet]. Retrieved January 7, 2022 from https://plasticseurope.org/wp-content/uploads/2021/12/Plastics-the-Facts-2021-web-final.pdf.


Sriwaranun, Y., Gan, C., Lee, M., & Cohen, D. A. (2015). Consumers’ willingness to pay for organic products in Thailand. International Journal of Social Economics.


Trading Economics (2022). Sugar. [Website]. Retrieved April 22, 2022 from https://tradingeconomics.com/commodity/sugar

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)