Willingness to Pay for Preferred Housing Attributes: A Case Study of Bangkok Bueng Sakae Ngam Senior Housing Project ความเต็มใจจะจ่ายเพื่อคุณลักษณะบ้านพักผู้สูงอายุที่ต้องการ: กรณีศึกษา โครงการบ้านพักผู้สูงอายุบึงสะแกงาม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Udomsak Seenprachawong

Abstract

บทคัดย่อ


         ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว กรุงเทพมหานครจึงได้ดำเนินโครงการบ้านพักผู้สูงอายุบึงสะแกงาม กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในเขตคลองสามวา เพื่อเป็นที่พักอาศัยของผู้สูงอายุโดยจัดให้มีคุณลักษณะและสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการเข้าพักอาศัยที่เป็นมาตรฐาน ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบและก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2567 ซึ่งสามารถรองรับผู้สูงอายุได้ประมาณ 400 คน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลค่าความเต็มใจจะจ่ายส่วนเพิ่มสำหรับคุณลักษณะต่าง ๆ ของที่พักอาศัยโดยใช้เทคนิคการทดลองพฤติกรรมการเลือก คุณลักษณะต่าง ๆ ของที่พักในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ บุคลากรของโครงการ และการออกแบบภายในโครงการ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร จำนวน 240 ตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบจำลอง Multinomial Logit เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ แล้วนำไปคำนวณความเต็มใจจะจ่ายส่วนเพิ่มสำหรับคุณลักษณะของที่พักอาศัยที่ระดับดีและระดับดีมาก สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการระดับดี หมายถึง ห้องออกกําลังกายขนาด 40 เครื่องเล่น มีลานจัดกิจกรรมกลางแจ้ง สระว่ายน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการระดับดีมาก หมายถึง ห้องออกกําลังกายขนาด 60 เครื่องเล่น มีลานจัดกิจกรรมกลางแจ้ง สระว่ายน้ำ ห้องกายภาพบําบัด/ตรวจโรค ห้องละหมาด/พระ (ปฏิบัติกรรมฐาน) บริการรถรับส่งภายในโครงการ และนอกโครงการ บุคลากรของโครงการระดับดี หมายถึง มีเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงและพยาบาลวิชาชีพคอยดูแลให้ความช่วยเหลือในระหว่างวันตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. แพทย์อายุรกรรมตรวจรักษาโรคเดือนละ 1 ครั้ง และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง บุคลากรของโครงการระดับดีมาก หมายถึง บุคลากรของโครงการระดับดี แต่มีเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงและพยาบาลวิชาชีพคอยดูแลให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงและมีนักกายภาพบําบัดและแพทย์อายุรกรรมตรวจรักษาโรคทุกวัน การออกแบบภายในโครงการระดับดี หมายถึง มีพื้นที่สีเขียวโดยจัดเป็นสวนหย่อมและลานพักผ่อนเฉพาะพื้นที่ส่วนกลางและสวนหย่อมขนาดเล็ก ในบริเวณหน้าที่พักประเภทบ้านเดี่ยวทุกหลังและบนชั้นดาดฟ้าของอาคารคอนโดมิเนียม ทางเดินลาดภายในโครงการมีราวจับกันตก กระเบื้องกันลื่นในส่วนที่พักอาศัยและพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ การออกแบบภายในโครงการระดับดีมาก หมายถึง การออกแบบภายในโครงการระดับดีและเพิ่มพื้นที่กิจกรรมสันทนาการ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเต็มใจจะจ่ายส่วนเพิ่มสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ระดับดีมากเท่ากับ 671.52 บาทต่อเดือน มีความเต็มใจจะจ่ายส่วนเพิ่มสำหรับบุคลากรที่ระดับดีมากเท่ากับ 886.40 บาทต่อเดือน มีความเต็มใจจะจ่ายส่วนเพิ่มสำหรับการออกแบบภายในโครงการที่ระดับดีมากเท่ากับ 683.72 บาทต่อเดือน และมีความเต็มใจจะจ่ายส่วนเพิ่มสำหรับการออกแบบภายในโครงการที่ระดับดีเท่ากับ 438.50 บาทต่อเดือน


คำสำคัญ: บ้านพักผู้สูงอายุ ความเต็มใจจะจ่าย เทคนิคการทดลองพฤติกรรมการเลือก สังคมผู้สูงอายุ โครงการบ้านพักผู้สูงอายุบึงสะแกงาม กรุงเทพมหานคร


ABSTRACT


         Currently, Thailand has entered an absolute aging society. Bangkok has therefore implemented the Bueng Sakae Ngam Senior Housing Project located in Khlong Sam Wa District of Bangkok to be a residence for the elderly by providing basic features and facilities to support standard living.  The project is now under construction and it is expected to be completed by the year 2024. Once completed, it can accommodate about 400 elderly people.  The aim of this research was to study the marginal willingness to pay for housing attributes by using the choice experiment method.  The attributes included in this study are the facilities within the project, medical staff and personnels in the project and interior design of the project.  The data were collected by using questionnaires from 240 civil servants and employees who work for Bangkok office aged 45-year-olds and over.  Multinomial Logit models were used to estimate parameters.  Then the marginal willingness to pay for housing attributes were computed.  Good level facilities refer to a gym with 40 sport equipment, outdoor playground, and a swimming pool. Excellent level facilities refer to good level facilities but a gym with 60 sport equipment, a health clinic, space for religious activities, shuttle bus services inside and outside housing complex. Good level staff and personnels refer to day care of medical staff, monthly physicians on duty, and 24-hour securities. Excellent level staff and personnels refer to good level staff with 24-hour medical staff, and daily physicians on duty. Good level interior design refers to public green space, ramp with hand rail in public area, safety floor throughout housing complex. Excellent level interior design refers to good level interior design plus recreation area.  The study found that respondents were willing to pay more for facilities at an excellent level of 671.52 baht per month, willingness to pay more for medical staff and personnels at an excellent level of 886.40 baht per month, willingness to pay more for project interior design in the project at an excellent level of 683.72 baht per month, and willing to pay more for the interior design in the project at a good level of 438.50 baht per month.


Keywords: Senior Housing, Willingness to Pay, Choice Experiment Method, Aging Society, Bangkok Bueng Sakae Ngam Senior Housing Project


เอกสารอ้างอิง (References)


ณภาภัช แสงวิมลมาส และสุพีชา พาณิชย์ปฐม. (2561). ความชื่นชอบในคุณลักษณะของคอนโดมิเนียมผู้สูงอายุ: กลุ่มใกล้เกษียณ การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561.


ธราดล เสาร์ชัย. (2561). 4 แนวโน้มความต้องการที่พักอาศัยเพื่อผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thansettakij.com/columnist/317037


พรรัตน์ พงษ์ประเสริฐ และเสาวลักษณ์ กิตติญาณปัญญา. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุของกลุ่มผู้สูงอายุในอนาคต ในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 16(2), 49-63.


ภูเบศร์ สมุทรจักร และคณะ. (2565). ครอบครัวไทยในอนาคต: พ.ศ. 2583. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.


มติชนออนไลน์. (2565). เปิดโฉม ‘บ้านพักผู้สูงอายุบึงสะแกงาม’. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566 จาก https://www.matichon.co.th/local/news_3479908


มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.


สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2566 จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/en/01.aspx


อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล และคณะ. (2564). โครงการการสังเคราะห์งานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวไทยเพื่อส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัวภายใต้บริบทสังคมสูงวัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.).


Atkinson, A.C., Donev, A.N., & Tobias, R.D. (2007). Optimum experimental designs, with SAS. Oxford: Oxford University Press.


Ben-Akiva, M., & Lerman, S.R. (1985). Discrete choice analysis: theory and application to travel demand. Cambridge: MIT Press.


Bhatti, M., & Church, A. (2004). Home, the culture of nature and meanings of gardens in late modernity. Housing Studies, 19(1), 37–51.


Boumeester, H. J. F. M. (2011). Traditional housing demand research, the measurement and analysis of housing preference and choice (S.J.T. Jansen et al. eds.). Springer, 27-55.


Cupchik, G. C., Ritterfeld, U., & Levin J. (2003). Incidental learning of features from interior living spaces. Journal of Environmental Psychology, 23(2), 189–197.


Czembrowski, P., & Kronenberg, J. (2016). Hedonic pricing and different urban green space types and sizes: Insights into the discussion on valuing ecosystem services. Landscape and Urban Planning, 146, 11–19.


De Jong, P., Rouwendal, J., van Hattum, P., & Brouwer, A. (2012). Housing preferences of an ageing population investigation in the diversity among Dutch older adults. Netspar Discussion Papers DP07/2012-024.


Gadzinski, J., & Radzimski, A. (2016). The first rapid tram line in Poland: How has it affected travel behaviours, housing choices and satisfaction, and apartment prices? Journal of Transport Geography, 54, 451–463.


Lancaster, K. J. (1966). A new approach to consumer theory. Journal of Political Economy, 74(2), 132-157.


Louviere, J., Hensher, D., & Swait, J. (2000). Stated choice methods-analysis and application. Cambridge: Cambridge University Press.


McFadden, D. (1974). Conditional Logit Analysis of Qualitative Choice Behavior, Frontiers in Econometrics, (P. Zarembka ed.). Academic Press, 105-142.


Ossokina, I.V., Arentze, T.A., van den Heuvel, D., & van Gameren, D. (2019). Best living concepts for elderly homeowners: combining a stated choice experiment with architectural design. Journal of Housing and the Built Environment, 35, 847-865.


Pongprasert, P. (2022). Senior condominium choice for low-to mid-income future elderlies: a case study of encouraging affordable senior living in Bangkok, Thailand. International Real Estate Review, 25(1), 119–135.


Traoré, S. (2019). Residential location choice in a developing country: What matter? A choice experiment application in Burkina Faso. Forest Policy and Economics, 102, 1-9.


Trojanek, R., & Huderek-Glapska, S. (2018). Measuring the noise cost of aviation – The association between the limited use area around Warsaw Chopin Airport and property values. Journal of Air Transport Management, 67, 103-114.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)