ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศไทย Macroeconomic Factors Influencing Foreign Direct Investment in Thailand

Main Article Content

สมศักดิ์ โชติช่วง

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศไทยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไหลเข้า (Inflow FDI) ของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลแบบ Panel Data ระหว่างปีพ.ศ. 2548-2555


ช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาโดยจำแนกตามประเทศ พบว่า การลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น กลุ่มอาเซียน ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มสหภาพยุโรป มีสัดส่วนการลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดตามลำดับ


ผลจากการศึกษาพบว่า ตัวแบบที่เหมาะสมในการประมาณการสมการถดถอยคือ Random Effect Model เมื่อพิจารณาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศผู้ลงทุน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศไทย ระดับการเปิดประเทศของประเทศไทย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราส่วนระหว่างอัตราดอกเบี้ยของประเทศผู้ลงทุนกับประเทศไทย และการเข้าร่วมเขตการค้าเสรี ในขณะที่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ได้แก่ ระยะทางระหว่างประเทศผู้ลงทุนกับประเทศไทย ระดับความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย และวิกฤติเศรษฐกิจ และเมื่อพิจารณาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ได้แก่ อัตราค่าจ้างแรงงาน


The objective of this independent study is to identify macroeconomic factors influencing inflow FDI of Thailand by using panel data during the period of 2005 to 2012.


During almost 30 years ago, it was found that the FDI in Thailand increased significantly and continuously since 1987. In terms of FDI classified by home countries, it is found that the most investment comes from Japan, ASEAN countries, United State of America and European Union.


The study shows that random effect model is the best technique for forecasting the relationship between economic factors and inflow FDI in Thailand. When considering at 0.05 significant level, the study also  finds that the Gross Domestic Product of home countries, the Gross Domestic Product of Thailand, level of openness of Thailand, exchange rate between Thailand and home countries, ratio of interest rate between Thailand and home countries and ASEAN+3 economic integration could explain inflow FDI with positive relationship. Otherwise, distance between home and host countries, the level of economic risk of Thailand and the economic crisis would negatively affect inflow FDI. While the unit labor cost would negatively relate to inflow FDI at 0.10 significant level.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)