Multiple Jobs Holding-Well Being Nexus of Public Servants: the Application of the Covariance Structure Model การประกอบอาชีพเสริมกับคุณภาพชีวิตข้าราชการ: การประยุกต์ใช้แบบจำลองโครงสร้างความแปรปรวน

Main Article Content

Ronnakron Kitipacharadechatron
Anongnuch Thienthong

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการประกอบอาชีพเสริมกับคุณภาพชีวิตข้าราชการ ตลอดจนการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงเชิงโครงสร้างของแบบจำลอง ด้วยการวิเคราะห์โครงสร้างความแปรปรวน โดยทำการแบ่งตัวแปรออกเป็น 3 มิติได้แก่ 1) มิติทางด้านเศรษฐกิจ 2) มิติทางด้านกายภาพและทัศนคติบุคคล 3) มิติทางด้านความรู้และการบริหารความเสี่ยงซึ่งใช้ข้อมูลเชิงสำรวจด้วยการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างข้าราชการที่ประกอบอาชีพเสริมในจังหวัดอุดรธานีทั้งหมด 280 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า ค่าความเชื่อมั่นในแต่ละมิติมีค่าเท่ากับ 0.895, 0.886, และ 0.905 ตามลำดับ โดยที่มิติทางด้านเศรษฐกิจ และมิติทางด้านกายภาพและทัศนคติบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตข้าราชการที่ประกอบอาชีพเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อย่างไรก็ตามการที่มิติทางด้านความรู้และการบริหารความเสี่ยง ไม่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของข้าราชการนั้นอาจเป็นเพราะ ข้าราชการโดยส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในประสบการณ์และจากการถ่ายทอดองค์ความรู้จากบรรพบุรุษ ประกอบกับลักษณะนิสัยที่ยึดมั่นในตนเองเป็นหลัก จึงอาจเป็นเหตุให้มิติทางด้านความรู้และการบริหารความเสี่ยง ไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตตามผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองอนึ่งแบบจำลองที่ถูกใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีค่าดัชนีชี้วัดความเที่ยงและค่าความตรงที่อยู่บนมาตรฐาน ทุกประการ กล่าวคือแบบจำลองที่สร้างขึ้นสามรถใช้ในการทำนายปรากฏการณ์ที่ศึกษาได้อย่างมีความหมาย


คำสำคัญ: การประกอบอาชีพเสริม คุณภาพชีวิต ข้าราชการ แบบจำลองโครงสร้างความแปรปรวน อุดรธานี



ABSTRACT
          The purpose of this paper was to study the nexus of the moonlighting factors and the well-being of public servants, and to examine the construct validity and reliability of the model used in the study using covariance structure analysis. The variables were divided according to the following three groups: 1) the economic dimension; 2) the physical and attitude dimension; and 3) the knowledge and risk management dimension. The data used in the study were obtained from the questionnaire collected from 280 public servants in Udon Thani in Thailand that had supplementary work. We found that the reliability for each dimension was 0.895, 0.886, and 0.905 respectively. Moreover, the model showed that the economic dimension, and the physical and personal attitude dimension, affected the officer’s well-being at a significance level of 0.01. However, the knowledge and risk management dimensions did not have a nexus with the well-being of public servants; this may have been because most of them only believe in their implicit knowledge and experiences. In addition, the model validity and reliability index passed all standard criteria.

Keywords: Multiple Jobs Holding, Well-being, Public Servant, Covariance Structure Model,
Udon Thani.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
Kitipacharadechatron, R., & Thienthong, A. (2019). Multiple Jobs Holding-Well Being Nexus of Public Servants: the Application of the Covariance Structure Model: การประกอบอาชีพเสริมกับคุณภาพชีวิตข้าราชการ: การประยุกต์ใช้แบบจำลองโครงสร้างความแปรปรวน. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 6(2), 89–104. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/2475
บท
บทความวิจัย (Research Article)