ระบบการผลิตมะละกอในจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ : การจัดการผลผลิตและศัตรูพืช Papaya Production System in Phetchaburi and Prachuap Khirikhan Provinces: Product and Pest Managements

Main Article Content

ศิริวรรณ แดงฉ่ำ
จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์
มนัญญา ปริยวิชญภักดี

Abstract

           เปรียบเทียบระบบการผลิตมะละกอในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ โดยสอบถามเกษตรกรผุ้ปลูกมะละกอ และใช้แบบสอบถาม ในช่วงเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน 2551 เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนางานวิจัยมะละกอต่อไป จากข้อมูลของเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอในจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 86 ราย พบว่า ระบบการปลูกมีทั้งแบบปลูกเป็นพืชเดี่ยวและพืชผสม มีการจำหน่ายในรูปผลดิบ 79.07% และผลสุกรับประทานสด 20.93% ผลดิบจำหน่ายโดยบรรจุถุงพลาสติกเจาะรูขนาด 10 กิโลกรัม ส่งจำหน่ายที่ตลาดกลางการเกษตรใกล้เคียงก่อนกระจายไปยังตลาดอื่น ๆ ผลสุกรับประทานสดจำหน่ายโดยมีการคัดเกรดและห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์สัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอทั้งหมด 49 ราย ระบบการปลูกมีทั้งพืชเดี่ยวและผสมเช่นกัน มีการจำหน่ายมะละกอในรูปผลดิบ 21.74% ผลสุกรับประทานสด 32.61% และผลสุกส่งโรงงาน 45.65% ในการจัดการผลผลิต มีการปฏิบัติเช่นเดียวกับเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี สำหรับผลสุกรับประทานสด ไม่มีการคัดเกรดก่อนห่อ ขณะที่ผลสุกส่งโรงงาน เก็บเกี่ยวผลที่ระยะแต้มน้อยกว่าการบริโภคสดและจำหน่ายโดยระบบโควตา มีทั้งพันธุ์เนื้อสีเหลืองและแดงในสัดส่วนที่โรงงานต้องการ ความแตกต่างของระบบการผลิตมะละกอที่สำคัญ คือ พืชหลักในแปลงมะละกอและรูปแบบการจำหน่าย จังหวัดเพชรบุรีไม่มีการจำหน่ายผลสุกส่งโรงงาน ขณะที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำหน่ายผลสุกเข้าโรงงานแปรรูปเป็นส่วนใหญ่ โรคและแมลงสำคัญที่พบในแปลงปลูก ได้แก่ โรคไวรัสจุดวงแหวน และเพลี้ยแป้ง นอกจากนี้ พบการระบาดของหอยทากในตอนใต้ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เนื่องจากมีความชื้นสูง สำหรับโรคหลังเก็บเกี่ยวที่ระดับความสุก 75% ไม่พบการเกิดโรคในจังหวัดเพชรบุรี และในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เกิดโรคเพียง 6.12%

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )
Author Biography

ศิริวรรณ แดงฉ่ำ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อ. เมือง จ. เพชรบุรี 76000