การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรในการลดปริมาณเชื้อและการเกิดโรคเน่าเละของผักกาดเขียวปลีในดินติดเชื้อและวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ของสมุนไพรที่ให้ผลดีที่สุด Utilization of Herbal Extract for Reducing the Bacterial Population and Disease incidence of Chinese Cabbage Soft Rot in the Infested Soil and Analysis of Bioactive Substances from the Best Herbal Extract

Main Article Content

วัชรา สุวรรณ์อาศน์
ศศิธร วุฒิวณิชย์
ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล

Abstract

            สารสกัดหยาบจากเอทานอลของพืชสมุนไพร 20 ชนิด ถูกนำมาทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Pectobacterium carotovorum sub sp. carotovorum (Erwinia carotovora sub sp. carotovora) สาเหตุโรคเน่าเละของผัก โดยวิธี paper disc agar diffusion บนอาหาร double layer nutrient glucose agar ในห้องปฎิบัติการ พบสารสกัดหยาบจากพืช 8 ชนิด ได้แก่ ผลสมอพิเภก ผลเบญกานี เปลือกผลทับทิม ผลกานพลู ผลสมอไทย เปลือกผลมังคุด ใบฝรั่งและใบพลูที่สามารถก่อให้เกิดบริเวณยับยั้งได้ชัดเจน โดย 3 ลำดับแรกที่ให้ผลดีที่สุดได้แก่ สารสกัดหยาบจากผลสมอพิเภก ผลเบญกานี และเปลือกผลทับทิม ค่าเฉลี่ยของบริเวณยับยั้งที่ 1,000 ppm เท่ากับ 0.41, 0.33 และ 0.25 ซม. ตามลำดับ จึงนำสารสกัดหยาบจากพืชทั้ง 3 ชนิดนี้ ที่ความเข้มข้น 10,000 และ 20,000 ppm มาคลุกลงในดินจำลองการติดเชื้อ จากนั้นย้ายผักกาดเขียวปลีอายุ 40 วันลงปลูก สุ่มเก็บดินเพื่อตรวจนับปริมาณเชื้อทุก 5 วันเป็นเวลา 30 วันโดยวิธี soil serial dilution และ viable plate count บนอาหาร Endo agar  พบว่าสารสกัดหยาบจากผลสมอพิเภก 20,000 ppm สามารถลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินได้ดีที่สุด โดยปริมาณเชื้อลดลงจาก 3.20 x 107 cfu/gในวันแรก เหลือ 2.50 x 105 cfu/g ในวันที่ 30 เมื่อเทียบกับ control ในช่วงเวลาเดียวกันปริมาณเชื้อยังคงสูงอยู่ที่ 9.87 x 105 cfu/g จึงนำสารสกัดหยาบจากผลสมอพิเภกมาศึกษาวิธีการใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดพบว่าการใช้สารสกัดหยาบจากผลสมอพิเภก 20,000 ppm ราดลงดิน ทุกๆ 10 วัน 3 ครั้งติดต่อกัน มีผลทำให้ปริมาณเชื้อลดลงจาก 3.20 x 107 cfu/gในวันแรก เหลือ 5.55 x106 cfu/g ในวันที่ 30  และมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค 17.50 %  เมื่อเปรียบเทียบกับ  control ปริมาณเชื้อในวันที่ 30 ยังคงสูง 1.96 x 107 cfu/g และเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค 82.50 %  นำสารสกัดหยาบจากผลสมอพิเภกมาแยกสารออกฤทธิ์โดยวิธี Quick Column Chromatography ได้สาร 5 fraction นำแต่ละ fraction มาทดสอบการยับยั้งเชื้อโดยวิธี paper disc agar diffusion พบว่าสารสกัด fraction FS2 ยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่สุด โดยมีขนาดของบริเวณยับยั้ง 0.85 ซม. จึงนำสารสกัด FS2 มาแยกด้วย Quick Column Chromatography อีกครั้งได้สาร 15 fraction นำแต่ละ fraction ไปทดสอบการยับยั้งเชื้อโดยวิธีการเดียวกัน พบว่าสารสกัด fraction FS2-5 ยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่สุด นำสารสกัด FS2-5 มาทำให้บริสุทธิ์มากขึ้นด้วย Preparative thin layer chromatographyได้สาร 1 แถบ TLC plate sheet มีค่า Rf= 0.50 ลักษณะเป็นผลึกสีเหลืองใส เมื่อนำไปวิเคราะห์โครงสร้างของสารโดยนิวเคลียร์แมกเนติกรีโซแนนซ์ (NMR) พบว่าสเปกตรัมของ1H NMR แสดงสัญญาณ 2.5 ppm ซึ่งแสดงลักษณะของ hydroxyl protons ; 3.7 ppm แสดงลักษณะของ methoxy protons และ 7.0 ppm แสดงลักษณะของ aromatic protons จากองค์ประกอบของโปรตีน สรุปได้ว่าสาร FS2-5 ที่แยกสกัดได้จากผลสมอพิเภกและสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเน่าเละ มีลักษณะสัญญาณคล้ายสาร methyl gallate

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )