ปริมาณแอนติออกซิแดนท์ ในกล้าพันธุ์อ้อยลูกผสมที่แช่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ | Antioxidant Contents in Seedling Sugarcane Hybrids Exposed to Hypertonic NaCl Concentration

Main Article Content

ปฐมาภรณ์ ยอดฉิมมา
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล

Abstract

            ดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย  การใช้พันธุ์อ้อยทนเค็มเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา  แต่การทดสอบพันธุ์อ้อยทนเค็มในสภาพแปลงมีความไม่สม่ำเสมอของความเค็ม  ดังนั้น จึงทำการทดสอบพันธุ์อ้อยโดยให้ได้รับสภาพเค็มในโรงเรือน โดยการตรวจสอบปริมาณแอนติออกซิแดนท์  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทนเค็มในงานปรับปรุงพันธุ์ต่อไป  โดยศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถในการทนเค็มกับปริมาณแอนติออกซิแดนท์ ในต้นกล้าอ้อยอายุ 2 เดือน ของพันธุ์อ้อยลูกผสมจำนวน 18 พันธุ์ จาก 6 คู่ผสม คู่ผสมละ 3 พันธุ์ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล ที่แช่ในสารละลาย NaCl ที่ความเข้มข้น 0%, 0.2% และ 0.4% (w/v) เป็นระยะเวลา 48 และ 72 ชม. วางแผนการทดลองแบบ split plot design in CRD ทำ 4 ซ้ำ โดยปัจจัยหลักเป็นความเข้มข้น 5 ระดับของ NaCl และปัจจัยรองเป็นพันธุ์อ้อยลูกผสม ทำการเพาะท่อนพันธุ์อ้อยที่มี 1 ตา พันธุ์ละ 100 ท่อนพันธุ์ ในดินทรายที่บรรจุในกระบะเพาะ เป็นเวลา 2 เดือน จากนั้นเลือกต้นอ้อยที่มีลักษณะพันธุ์ดีพันธุ์ละ 2 ต้นของทั้ง 18 พันธุ์ ย้ายลงในกระบะเดียวกัน แล้วนำไปแช่ในสารละลาย NaCl เก็บตัวอย่างใบอ้อยและวิเคราะห์ปริมาณแอนติออกซิแดนท์ด้วยวิธี Ferric Thiocyanate Method จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์มีการตอบสนองต่อความเค็มที่ระดับความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน โดยพบว่าต้นกล้าอ้อยอายุ 2 เดือน เมื่อแช่ในสารละลาย NaCl มีปริมาณแอนติออกซิแดนท์ที่ใบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ต้นกล้าอ้อยที่แช่ในสารละลาย NaCl 0.2% เป็นระยะเวลา 72 ชม. มีปริมาณสารแอนติออกซิแดนท์ต่ำแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  นอกจากนี้ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของปริมาณแอนติออกซิแดนท์ ระหว่างคู่ผสมสลับพันธุ์แม่และพันธุ์พ่อ ทั้ง 2 คู่  แต่ในคู่ผสมที่มีพันธุ์พ่อต่างกัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาปริมาณแอนติออกซิแดนท์ของแต่ละคู่ผสม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 4 คู่ผสม และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 2 คู่ผสม และเมื่อพิจารณาการปริมาณแอนติออกซิแดนท์ของพันธุ์อ้อยลูกผสมในแต่ละคู่ผสม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณแอนติออกซิแดนท์ จำนวน 4 คู่ผสม และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 2 คู่ผสม เช่นกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )