ผลของ 2,4-D และพาราควอตต่อการเจริญเติบโตและตรึงไนโตรเจนของไซยาโนแบคทีเรียบางชนิดจากดินนา | Effects of 2,4-D and Paraquat on Growth and N2 - Fixation of Some Cyanobacteria from Paddy Soils

Main Article Content

วัชรพงษ์ พิทักษ์ภากร
ธงชัย มาลา
กนกกร สินมา
พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

Abstract

            วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของ 2,4-D และพาราควอตต่อการเจริญเติบโตและตรึงไนโตรเจนของไซยาโนแบคทีเรียที่แยกเชื้อบริสุทธิ์ได้จากดินนาในภาคกลาง 8 สายพันธุ์ ได้แก่ Trichormus sp. NPT4, Nostoc sp. RBR3, Anabaena sp. NPT5, Nostoc sp. KRI8, Anabaena siamensis NPT2, Calothrix sp. KRI1, Nostoc sp. RBR6 และ Trichormus sp. KRI12 เมื่อนำมาเลี้ยงในอาหารเหลว BG11 ที่ผสม 2,4-D ในอัตรา 3, 6 และ 12 mg L-1 พบว่าอัตราการเจริญและการตรึงไนโตรเจนของไซยาโนแบคทีเรียส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเมื่อเจริญใน 2,4-D ที่ความเข้มข้น 3 และ 6 mg L-1 ขณะที่ความเข้มข้น 12 mg L-1 ไซยาโนแบคทีเรียมีอัตราการเจริญและการตรึงไนโตรเจนลดลงเมื่อเทียบกับตำรับควบคุม โดยพบว่าสายพันธุ์ NPT2 มีอัตราการเจริญสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งในระดับความเข้มข้น 3, 6 mg L-1 และตำรับควบคุม (0.193, 0.187 และ 0.180 ตามลำดับ) ส่วนการตรึงไนโตรเจนพบว่าสายพันธุ์ NPT5 และ KRI8 ที่เจริญใน 2, 4-D ความเข้มข้น 6 mg L-1 มีการตรึงไนโตรเจนสูงที่สุด (402.30 และ 394.23 µmol N L-1 hr-1 ตามลำดับ) การศึกษาไซยาโนแบคทีเรียทั้ง 8 สายพันธุ์ ในอาหารเหลว BG11 ที่ผสมพาราควอตในอัตรา 0.75, 1.5 และ 3 mg L-1 พบว่า ความเข้มข้น 0.75 mg L-1 สายพันธุ์ที่สามารถเจริญต่อไปได้มีเพียง NPT5 และ RBR6 โดยมีอัตราการเจริญเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตำรับควบคุม และตั้งแต่ความเข้มข้นที่ 1.5 mg L-1 ขึ้นไป เหลือเพียง NPT5 ที่สามารถเจริญต่อไปได้อย่างช้าๆ โดยทุกตำรับที่เลี้ยงในพาราควอตไม่พบการตรึงไนโตรเจนในทุกสายพันธุ์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )