การตรวจสอบลักษณะโพรลีนภายใต้สภาพแล้งในโรงเรือนของพันธุ์อ้อยจากต่างคู่ผสม และการศึกษาความสัมพันธ์กับผลผลิตอ้อยในสภาพแปลงอาศัยน้ำฝน Evaluation of Proline Characters under Drought Stress in Nursery in Sugarcane Varieties from Different Crosses and Study of Relationship with Cane Yield in Field under Rain Fed Condition

Main Article Content

ณัฐพงศ์ รอดเพชร
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์

Abstract

            ได้ตรวจสอบปริมาณโพรลีนในต้นอ้อยอายุ 3 เดือนที่ได้รับสภาพขาดน้ำในโรงเรือน โดยทำการงดน้ำเป็นเวลา 3 วัน (ได้รับน้ำปกติ) 8 วัน และ 12 วัน ในอ้อย 18 พันธุ์จาก 6 คู่ผสม วางแผนการทดลองแบบ split plot โดยมีวิธีการงดน้ำเป็น main plot และพันธุ์อ้อยเป็น sub plot เพาะท่อนพันธุ์ที่มี 1 ตาในกระถางขนาด 8 นิ้ว แต่ละแปลงย่อยมี 1 กระถาง ตรวจสอบปริมาณโพรลีนหลังการงดน้ำและหลังการฟื้นตัวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลางดน้ำ 7 วัน แล้วคำนวณเปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบปริมาณโพรลีนในอ้อยที่งดน้ำกับอ้อยที่ได้รับน้ำปกติ และเปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบระหว่างปริมาณโพรลีนหลังการฟื้นตัวกับหลังการงดน้ำ จากนั้นคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต่างๆ ของโพรลีนในโรงเรือน กับผลผลิตอ้อยปลูกของอ้อยที่ปลูกในสภาพแปลง จากผลการทดลองพบว่า อ้อยอายุ 3 เดือนเมื่อได้รับสภาพขาดน้ำในโรงเรือน มีการสะสมปริมาณโพรลีนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตามระยะเวลาของการงดน้ำที่มีการลดลงของค่าความต่างศักย์ของน้ำในดิน และเมื่ออ้อยในสภาพฟื้นตัวหลังได้รับน้ำ พบว่ามีปริมาณโพรลีนลดลง อย่างไรก็ตามอ้อยที่ได้รับสภาพขาดน้ำเป็นเวลานาน (12 วัน) ยังคงมีปริมาณโพรลีนที่สูงกว่าอ้อยที่ขาดน้ำ 8 วันและปกติ (3วัน) นอกจากนี้พบลักษณะที่ต่างกันของความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในคู่ผสมและพันธุ์อ้อย ที่ได้รับสภาพขาดน้ำเป็นเวลาต่างกันในทุกลักษณะของโพรลีน เมื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของลักษณะโพรลีนภายใต้สภาพขาดน้ำในโรงเรือนกับผลผลิตอ้อยปลูกในแปลง พบว่าลักษณะของโพรลีนทุกรูปแบบในสภาพขาดน้ำเป็นเวลา 8 วันในโรงเรือนซึ่งมีค่าความต่างศักย์ของน้ำในดินเท่ากับ -52 kPa มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลผลิตอ้อยในสภาพแปลงอาศัยน้ำฝน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )