การลดการพัฒนาอาการโรคเน่าเละของผักหลังการเก็บเกี่ยวด้วยสารสกัดหยาบจากผลสมอพิเภก | Utilization of beleric myrobalan fruit crude extract for decreasing bacterial soft rot disease development on postharvest vegetable

Main Article Content

ศศิธร วุฒิวณิชย์

Abstract

           การลดการพัฒนาอาการโรคเน่าเละที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pectobaterium carotovorum sub sp. carotovorum (P.C.C.) ของผักหลังการเก็บเกี่ยว ทำโดยใช้สารสกัดหยาบจากผลสมอพิเภก ความเข้มข้น 10,000, 20,000 ppm และ clorox 10% ฉีดพ่นลงบนผักสดที่อ่อนแอต่อโรค 5 ชนิด ได้แก่ แครอท ผักกาดหัว มันฝรั่ง กะหล่ำปลี และหอมหัวใหญ่ จากนั้นปลูกเชื้อ P.C.C.  ลงบนผักแต่ละชนิดด้วยวิธีดัดแปลง Detached leaf  บ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้อง บันทึกการพัฒนาอาการของโรคทุกวันโดยการวัดขนาดแผล พบว่าสารสกัดหยาบจากผลสมอพิเภก 20,000 ppm  สามารถลดการพัฒนาอาการโรคเน่าเละได้ โดยขนาดแผลเฉลี่ย เล็กกว่ากรรมวิธีที่ฉีดพ่นด้วย clorox 10%, สารสกัดเข้มข้น 10,000 ppm และ control  เมื่อเปรียบเทียบขนาดแผลเฉลี่ยที่เวลา 4 วันหลังการปลูกเชื้อในพืชแต่ละชนิด มันฝรั่ง กรรมวิธีที่ฉีดพ่นสารสกัด 20,000 ppm ขนาดแผลเฉลี่ย 2.5 ซม. ในขณะที่กรรมวิธีที่ฉีดพ่น clorox 10%, สารสกัด 10,000 ppm และcontrol ขนาดแผลเฉลี่ย 3.5, 3.9 และ 4.1 ซม.ตามลำดับ  ในผักกาดหัว กรรมวิธีที่ฉีดพ่นสารสกัด 20,000 ppm ขนาดแผลเฉลี่ย 3.8 ซม. เทียบกับ clorox 10%, สารสกัด 10,000 ppm และ control ขนาดแผลเฉลี่ย 4.0, 4.3 และ 5.4 ซม. ตามลำดับ ในแครอท กรรมวิธีที่ฉีดพ่นสารสกัด 20,000 ppm ขนาดแผลเฉลี่ย 2.6 ซม. เทียบกับ clorox 10%, สารสกัด 10,000 ppm และ control ขนาดแผลเฉลี่ย 2.8, 3.0 และ 3.8 ซม.ตามลำดับ ในกะหล่ำปลี กรรมวิธีที่ฉีดพ่นสารสกัด 20,000 ppm ขนาดแผลเฉลี่ย 1.2 ซม. เทียบกับ clorox 10%, สารสกัด 10,000 ppm และcontrol ขนาดแผลเฉลี่ย 1.3, 1.7  และ 3.2 ซม.ตามลำดับ และหอมหัวใหญ่ กรรมวิธีที่ฉีดพ่นสารสกัด 20,000 ppm  ขนาดแผลเฉลี่ย 2.6 ซม. เทียบกับ clorox 10%, สารสกัด 10,000 ppm และ control ขนาดแผลเฉลี่ย 2.7, 2.9  และ 3.5 ซม.ตามลำดับ จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า สารสกัดหยาบจากผลสมอพิเภก ความเข้มข้น 20,000 ppm มีศักยภาพในการนำมาใช้ลดการพัฒนาอาการเน่าเละที่เกิดจากแบคทีเรียในผลผลิตผักหลังการเก็บเกี่ยวและลดความสูญเสียเนื่องจากโรคเน่าเละได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )