การตรวจสอบความดีเด่นของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนชุดปี 2007 ในลักษณะผลผลิตของอ้อยปลูกภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ โดยการวิเคราะห์ GGE biplot Evaluation the Outstanding of Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties Series 2007 in Cane Yield of Plant Cane under Various Environments of Plant Cane by GGE Biplot

Main Article Content

ต่อศักดิ์ เอกสิทธิกุล
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์

Abstract

            พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูกอ้อยต่างๆ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทำให้มีการลดต้นทุนการผลิตได้ โดยทำการปลูกทดสอบในแปลงทดสอบพันธุ์ในพื้นที่ต่างๆ และตรวจสอบโดยการวิเคราะห์เสถียรภาพและความดีเด่น โดยทำการวิเคราะห์เสถียรภาพผลผลิตอ้อยของพันธุ์อ้อย โดยวิธี GGE biplot ที่มีการจัดกลุ่มแปลงทดสอบตามความแตกต่างของสภาพแวดล้อม ได้แก่ เดือนปลูก อายุเก็บเกี่ยว ภูมิภาค เนื้อดิน และปริมาณน้ำฝนในช่วงปลูก โดยดำเนินการในแปลงทดสอบพันธุ์จำนวน 15 แปลง ที่มีอ้อยพันธ์กำแพงแสน 10 พันธุ์และพันธ์ขอนแก่น 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 3 ซ้ำ แต่ละแปลงย่อยมี 3 แถว ยาว 8 เมตร จากผลการทดลอง พบว่าพันธุ์ขอนแก่นมีความดีเด่นในลักษณะผลผลิตอ้อยมากที่สุด และมีความดีเด่นในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย แต่ทั้งนี้พบว่าอ้อยพันธุ์กำแพงแสนชุดปี 2007 มีความดีเด่นสูงสุดในบางปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ พันธุ์กำแพงแสน 07-24-2 เมื่อปลูกในเดือนมีนาคม พันธุ์กำแพงแสน 07-29-1 เมื่อเก็บเกี่ยวช้า (อายุ 14 และ 15 เดือน) พันธุ์กำแพงแสน 07-10-3 ที่ปลูกในภาคตะวันตก และในเนื้อดินที่มีทราย พันธุ์กำแพงแสน 07-1-3 ในสภาพปริมาณน้ำฝน 1,100-1,300 มม. และพันธุ์กำแพงแสน 07-30-3 เมื่อมีปริมาณน้ำฝน 1,300-1,500 มม. นอกจากนี้ยังพบว่าอ้อยพันธ์กำแพงแสนที่ดีเด่นกับปัจจัยที่เฉพาะต่างกัน ได้แก่ พันธุ์กำแพงแสน 07-30-3 มีความดีเด่นเฉพาะที่ปลูกในบางเดือนและเฉพาะบางช่วงอายุเก็บเกี่ยว พันธ์กำแพงแสน 07-1-3 มี ความดีเด่นเฉพาะในบางภูมิภาคและเฉพาะเนื้อดินบางชนิด พันธุ์กำแพงแสน 07-24-2 มีความดีเด่นเฉพาะที่ปลูกในบางเดือนและเฉพาะบางช่วงของปริมาณน้ำฝน และพันธุ์กำแพงแสน 07-29-1 มีความดีเด่นเฉพาะที่ปลูกในบางเดือน เฉพาะบางชนิดของเนื้อดิน  และเฉพาะบางช่วงปริมาณน้ำฝน ทั้งนี้ปัจจัยสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ มีชนิดที่มีระดับความแตกต่างของความดีเด่นของพันธุ์ที่สูงสุดและต่ำสุดประมาณ 2-3 เท่า ยกเว้นความแตกต่างของชนิดของปัจจัยเนื้อดิน มีระดับความแตกต่างของความดีเด่นของพันธุ์ที่สูงสุดและต่ำที่สุดที่สูงถึงประมาณ 6 เท่า

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )