การเปรียบเทียบเทคนิคการปรับเทียบแบบจำลอง SWAT สำหรับประเมินน้ำท่าลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก | Comparison of Calibration Techniques of SWAT Model for Estimation of Reservoir Inflow to Khwae Noi Bamrungdan Dam, Phitsanulok

Main Article Content

กิตติพงษ์ ตุมกูล
เกศวรา สิทธิโชค
ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับเทียบแบบจำลอง SWAT เพื่อใช้ในการประเมินปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำแควน้อยบำรุงแดน โดยได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างการปรับใช้พารามิเตอร์ชุดเดียวกันทั้งลุ่มน้ำ(กรณีที่ 1) และการปรับใช้พารามิเตอร์ที่แตกต่างกันตามแต่ละลุ่มน้ำย่อย (กรณีที่ 2) และทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบจำลอง โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำท่ารายเดือนที่สถานีวัดน้ำท่าที่ บ้านแก่งบัวคำ (091401) ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ประเมินเชิงประสิทธิภาพ ได้แก่ สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) และNash-Sutcliffe Efficiency (NSE) ซึ่งมีช่วงเวลาในการปรับเทียบแบบจำลองตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2541 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 และมีช่วงเวลาในการตรวจพิสูจน์แบบจำลองตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2547 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 โดยข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำแบบจำลอง ประกอบด้วย แผนที่ระดับความสูงภูมิประเทศขนาด 30x30 ม. ข้อมูลชนิดดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินช่วงปี พ.ศ. 2550-2552 ข้อมูลอุตุนิยมวิทยารายวัน พ.ศ. 2541-2553 และข้อมูลปริมาณน้ำท่ารายเดือน พ.ศ. 2541-2553 ของสถานีวัดน้ำท่าที่บ้านแก่งบัวคำ (091401) สถานีวัดน้ำท่าที่บ้านหนองกระเถา (N.36) สถานีวัดน้ำท่าที่บ้านนาโพธิ์นาจาน (N.59) และสถานีวัดน้ำท่าที่บ้านโคกผักหวาน (091502) ผลการศึกษาพบว่า ผลการปรับเทียบและการตรวจพิสูจน์ของการจัดทำแบบจำลอง SWAT ในกรณีที่ 2 มีประสิทธิภาพของผลการปรับเทียบและการตรวจพิสูจน์แบบจำลองสูงกว่ากรณีที่ 1 โดยในกรณีที่ 2 มีผลการปรับเทียบให้ค่า R2 เท่ากับ 0.823 และค่า NSE เท่ากับ 0.763 ในขณะที่การตรวจพิสูจน์แบบจำลองให้ค่า R2 เท่ากับ 0.928 และค่า NSE เท่ากับ 0.886 และในกรณีที่ 1 มีผลการปรับเทียบให้ค่า R2 เท่ากับ 0.819 และค่า NSE เท่ากับ 0.616 ในขณะที่การตรวจพิสูจน์แบบจำลองให้ค่า R2 เท่ากับ 0.871 และค่า NSE เท่ากับ 0.535

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering )