การศึกษาความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยา ความเร็วในการวิ่งเปลี่ยนทิศทาง และ สมรรถภาพทางกายที่บ่งชี้ถึงความสามารถของนักบาสเกตบอล The Study of Reactive Agility, Change of Direction Speed and Physical Fitness as Indicator of Performance in Basketball Players

Main Article Content

ศศิวิมล เอกวิริยะกุล
นิรอมลี มะกาเจ
ถวิชัยย์ ขาวถิ่น
เพ็ญนิภา พูลสวัสดิ์
สุกัญญา เจริญวัฒนะ

Abstract

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยา ความเร็วในการวิ่งเปลี่ยนทิศทางและสมรรถภาพทางกายที่บ่งชี้ถึงความสามารถของนักกีฬาบาสเกตบอล โดยจำแนกระหว่างระดับการแข่งขันและตำแหน่งการเล่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบาสเกตบอลชาย จำนวน 24 คน แบ่งตามระดับการแข่งขันออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 12 คน คือ กลุ่มนักกีฬาอาชีพและกลุ่มนักกีฬาสมัครเล่น โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดต้องทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยา ความเร็วในการวิ่งเปลี่ยนทิศทางและสมรรถภาพทางกายที่บ่งชี้ถึงความสามารถของนักกีฬาบาสเกตบอลที่ผู้วิจัยได้คัดสรร ประกอบด้วยความเร็วในการวิ่งทางตรงที่ระยะ 10 เมตร และ 20 เมตร ความเร็วเท้า เวลาสัมผัสพื้นในแนวราบ เวลาสัมผัสพื้นในแนวดิ่ง พลังกล้ามเนื้อขา และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว นำผลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ t-test independent เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการแข่งขัน ใช้สถิติ one way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างจากการจำแนกตำแหน่ง และใช้สถิติ Pearson product moment correlation coefficient เพื่อหาความสัมพันธ์ของความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยาและ ความเร็วในการวิ่งเปลี่ยนทิศทาง กับสมรรถภาพทางกายที่บ่งชี้ถึงความสามารถของนักกีฬากำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              ผลการศึกษาพบว่า นักกีฬาบาสเกตบอลระดับอาชีพมีความเร็วที่ดีกว่านักกีฬาระดับสมัครเล่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งความเร็วที่ระยะ 10 เมตร และ 20 เมตร เมื่อจำแนกตามตำแหน่งการเล่น พบว่า ตำแหน่งปีกและตำแหน่งการ์ดมีความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางที่ดีกว่าตำแหน่งเซ็นเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตำแหน่งปีกมีความเร็วเท้าที่ดีกว่าตำแหน่งการ์ดและตำแหน่งเซ็นเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตำแหน่งการ์ดมีพลังกล้ามเนื้อขาที่ดีกว่าตำแหน่งปีกและเซ็นเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ นอกจากนั้น พบว่า ความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยามีความสัมพันธ์กับ ความเร็วในการวิ่งทางตรงที่ระยะ 20 เมตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางมีความสัมพันธ์กับความเร็วในการวิ่งทางตรงที่ระยะ 20 เมตรและพลังกล้ามเนื้อขาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา (Science and Health Science & Sport)