การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการของโรค canine monocytic ehrlichiosis | Laboratory Diagnosis of Canine Monocytic Ehrlichiosis

Main Article Content

กัญจน์ แก้วมงคล
ศราวรรณ แก้วมงคล

Abstract

Ehrlichia canis เป็นแบคทีเรียแกรมลบ อยู่ในกลุ่มของ α-Proteobacteria ในลำดับ Rickettsiales ซึ่งก่อโรค canine monocytic ehrlichiosis (CME) โรคติดต่อจากเห็บที่ร้ายแรงที่สุดในสุนัขในประเทศไทย การตรวจในห้องปฏิบัติการสำหรับ CME โดยวิธีมาตรฐานสามชนิดหลักคือ การตรวจหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์จากสเมียร์เลือด การตรวจหาเชื้อโดย PCR จากตัวอย่างเลือด และการตรวจหา IgG ที่จำเพาะโดยชุดทดสอบเชิงพาณิชย์ โดยชุดทดสอบเชิงพาณิชย์นั้นถูกใช้ในการปฏิบัติงานประจำของสัตวแพทย์ โดยมี IgG ที่จำเพาะต่อเชื้อ E. canis เป็นเป้าหมายหลักของการทดสอบทางภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามการมีแอนติบอดีต่ำในระยะแรกของการติดเชื้ออาจพบผลลบจากการทดสอบทางซีรั่มวิทยา ในทางกลับกันแอนติบอดีอาจขึ้นสูงยาวนานหลังจากการติดเชื้อมากถึง 6-12 เดือน ผลบวกบวกยาวนานนี้ทำให้การวินิจฉัย CME เกิดความสับสน ในการตรวจหาเชื้อโดย PCR ตัวอย่างหลักคือเลือดจากหลอดเลือดดำ จากรายงานก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่พบว่าตัวอย่างจากหลอดเลือดดำส่วนปลายมีความไวต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตัวอย่างจากม้ามและไขกระดูก ทั้งในโรคระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง อย่างไรก็ตามการเก็บตัวอย่างจากอวัยวะภายในเหล่านี้มีข้อจำกัดที่สำคัญ เนื่องจากสุนัขที่ป่วยมักพบภาวะเลือดออกผิดปกติที่เกิดจากเกล็ดเลือดต่ำรุนแรง ดังนั้นยังคงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอีกมากเกี่ยวกับการวินิจฉัย CME ทางห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะจากนักวิจัยไทย


Ehrlichia canis is a gram negative bacteria within the α-Proteobacteria group in the order Rickettsiales. This organism is a cause of canine monocytic ehrlichiosis (CME) which is the deadliest tick-borne disease in dogs in Thailand. Laboratory tests for CME are regularly performed with three standard protocols, including microscopic findings on thin blood smear, antigen detection by PCR with whole blood specimens, and specific IgG detection by commercial test kits. Recently, commercial test kits have been used in routine practices of veterinary medicine. Although specific IgG of E. canis in suspected dog’s sera or whole blood is a primary target of those serological tests, low antibody titer at the early phase of infections could be the causes of negative results of these serological tests. Conversely, prolong antibody titers could occur after infections approximately 6 to 12 months. These prolong positive serological tests could confuse the diagnosis of CME. Based on the antigen detection by PCR techniques, a clinical specimen is still whole blood samples. Most previous reports demonstrated that whole blood collected from peripheral vein has lower sensitivity comparing with invasive sampling such as spleen and bone marrow samples in both acute and chronic cases. Those invasive sample collection methods increase the sensitivity of the PCR in the research field. However, the invasive sample collection methods for E. canis detection have limitations for routine work due to bleeding disorder caused by severe thrombocytopenia. Therefore, more researches of CME diagnosis are still needed, particularly from Thai researchers.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ