มาตรการควบคุมอาวุธปืนในประเทศไทย: ปัญหาและแนวทางแก้ไข

Gun Control Measures in Thailand: Problems and Solutions

ผู้แต่ง

  • ชาติชาย วิริยะเจริญกิจ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์และพลศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • สุรัสวดี แสนสุข อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์และพลศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการมีและใช้อาวุธปืนตามกฎหมายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน อันมีลักษณะเป็นพิจารณาถึงปัญหาการอนุญาต การมีและใช้อาวุธปืน โดยศึกษาเปรียบเทียบกับแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับการควบคุมการมีและใช้อาวุธปืนของต่างประเทศ ซึ่งการควบคุมการมีและใช้อาวุธปืนตามกฎหมายอาวุธปืนของประเทศไทยในปัจจุบันมีความไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับการควบคุมการตรวจสอบการมีและใช้อาวุธปืนหลายประการ ได้แก่ ปัญหาการใช้อำนาจดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ปัญหาการเพิกถอนใบอนุญาตและการริบอาวุธปืน ปัญหาเกี่ยวกับการตรวจสอบและการลงโทษ โดยการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการการควบคุมการมีและใช้อาวุธปืนในต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า แต่ละประเทศมีความเข้มงวดและเคร่งครัดแตกต่างกันไป อันเนื่องมาจากสภาพพื้นที่ ประเพณี และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และเกิดปัญหาในประเทศไทยคือ การอนุญาตมีไว้ครอบครองและใช้อาวุธปืนเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการใช้ดุลพินิจเพียงหน่วยงานเดียว โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแต่อย่างใด ในทางปฏิบัติจึงเกิดปัญหาการเลือกปฏิบัติและการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นธรรม และก่อให้เกิดปัญหาการครอบครองได้โดยง่ายและขาดมาตรการการควบคุมการมีอาวุธปืนในครอบครอง ตลอดจนขาดกลไกการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีอำนาจกับความชอบด้วยกฎหมายในการมีหรือใช้อาวุธปืนตามกฎหมาย

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-31

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##