ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำอ้อยสบจาง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ดาวเดือน อินเตชะ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
  • สุชน ทิพย์ทิพากร คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, พัฒนาผลิตภัณฑ์, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำอ้อยสบจาง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือลูกค้าที่บริโภคสินค้า จำนวน 385 คน และกลุ่มตัวแทนผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เท่ากับ 0.951 ซึ่งความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำอ้อยสบจาง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านราคา ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ การทำราคาให้มีความหลากหลาย ตามขนาด จำนวน และปริมาณ ของสินค้า สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ เช่น เพจ LINE Ads เป็นของกลุ่มโดยเฉพาะ การให้ส่วนลดลูกค้าตามปริมาณการซื้อ การลด แลก แจก แถม เน้นการใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การออกบูธที่ทางภาครัฐมีการจัด และขอการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กันยารัตน์ เพ็งพอรู้. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตมีนบุรีและเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฐิตินันท์ หรั่งยิ้ม, พลอยไพลิน จิตต์สดใส, และ ธนินท์ ตีรสวัสดิชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน:กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวฮางงอก บ้านโคกสว่าง จังหวัดสกลนคร. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(6), 52-58.

ณรงค์ศักดิ์ วดีศิริศักดิ์. (2555). นวัตกรรมของการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดเชิงสุนทรีย์: กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นต์โพร จำกัด.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

พรชัย พันธุ์ธาดาพร. (2558). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศึกษาเรื่องแนวคิดของวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566, จาก https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2558/ 2558240240335.pdf

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลนาสัก. (2564). การทำน้ำอ้อยโบราณ (บ้านสบจาง). สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566, จาก https://sites.google.com/dei.ac.th/korsornor-nasak

สำนักงานสถิติจังหวัดลำปาง. (2562). จำนวนประชากรจังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566, จาก http://lampang.nso.go.th/index.php?option=com_ content&view=article&id=363:--2562&catid=105:2012-01-09-07-07-49&Itemid=658

องค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก. (2564). ภูมิปัญญาชาวบ้านการทำน้ำอ้อย. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566, จาก https://nasaklampang.go.th/event

Boonchuai, P., & Pasunon, P. (2019). Success factors for health and beauty products for digital marketing: A case study of electronic marketplace. Sripatum Chonburi Academic Journal, 16(1), 43-55.

Choothong, K., & Kohklang, k. (2019). Transcription lessons for the learning process of bang yai community enterprise: From the process of non-toxic passion fruit juice products for health. School of Administrative Studies Academic Journal, 2(4), 25-35.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Hair, J.F., William C.B., Barry J.B., & Rolph E.A. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Education International.

Iam-Khong, N. (2021). Marketing mix factors affecting consumers' decision to buy community enterprise products through e-commerce system. Journal of Mass Communication Technology, RMUTP, 7(1), 9-20.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale attitude theory and measurement. New York: Wiley & Son.

Lotrakun, A. (2012). The study of potential for export of OTOP products in Phra Nakhon Si Ayutthaya. Journal of local governance and innovation, 1(3), 104-117.

Pongpanapipat, C. (2020). Marketing mix strategies that influenced the success of the community enterprise of Ban Um Saeng Rice Center (Kasetthip). Journal of local governance and innovation, 4(3), 1-14.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Tansiri, P. (2022). Marketing Mix factors affecting the decision to buy online products of Generation Z group in Bangkok. APHEIT Humanities and Social Sciences Journal, 28(1), 55-68.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30