เปรียบเทียบวิธีรีเกรสชันเส้นตรง กับวิธีอิทธิพลหลักของยีโนไทป์บวกกับปฏิกิริยาระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อมในการใช้ประเมินเสถียรภาพของพันธุ์อ้อยกำแพงแสน Comparison of Eberhart and Russell Method and GGE Method used for the Study of the Yield Stability of Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties

Main Article Content

ศุภนัส แสบงบาล
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน

Abstract

          การเปรียบเทียบผลของการศึกษาเสถียรภาพของพันธุ์อ้อยโดยวิธีรีเกรสชันเส้นตรง linear regression (LR) ตาม Eberhart และ Russell และ วิธีอิทธิพลหลักของยีโนไทป์บวกกับปฏิกิริยาระหว่างพันธุ์กับสิ่งแวดล้อม (GGE)  โดยใช้ลักษณะผลผลิตอ้อยของอ้อยปลูกจำนวน 20 พันธุ์ จากแปลงเปรียบเทียบพันธุ์จำนวน 20 แปลง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่าวิธี GGE มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธี  linear regression ของ Eberhart และ Russell โดยสามารถตรวจสอบพบนัยสำคัญของปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธ์กับสภาพแวดล้อม ในขณะที่วิธี Eberhart และ Russell ไม่สามารถตรวจพบนัยสำคัญ และจากการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตอ้อย พบว่าค่าเสถียรภาพของวิธี LR โดย Eberhart และ Russell และค่า GE มีความสอดคล้องกับข้อมูลของลักษณะ (ผลผลิตอ้อย) จากการคำนวณโดยใช้ข้อมูลและลำดับ แต่ไม่พบความสอดคล้องกับค่าเสถียรภาพที่คำนวณโดยวิธี LR ของ Eberhart และ Russell ดังนั้นการวิเคราะห์ค่า GGE ซึ่งคำนวณโดยใช้การประมวลข้อมูลของลักษณะและเสถียรภาพ จะให้ความสำคัญกับข้อมูลของลักษณะมากกว่าค่าเสถียรภาพของพันธุ์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )