เปรียบเทียบวิธีรีเกรสชันเส้นตรง กับวิธีอิทธิพลหลักของยีโนไทป์บวกกับปฏิกิริยาระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อมในการใช้ประเมินเสถียรภาพของพันธุ์อ้อยกำแพงแสน Comparison of Eberhart and Russell Method and GGE Method used for the Study of the Yield Stability of Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ศุภนัส แสบงบาล
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน

บทคัดย่อ

          การเปรียบเทียบผลของการศึกษาเสถียรภาพของพันธุ์อ้อยโดยวิธีรีเกรสชันเส้นตรง linear regression (LR) ตาม Eberhart และ Russell และ วิธีอิทธิพลหลักของยีโนไทป์บวกกับปฏิกิริยาระหว่างพันธุ์กับสิ่งแวดล้อม (GGE)  โดยใช้ลักษณะผลผลิตอ้อยของอ้อยปลูกจำนวน 20 พันธุ์ จากแปลงเปรียบเทียบพันธุ์จำนวน 20 แปลง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่าวิธี GGE มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธี  linear regression ของ Eberhart และ Russell โดยสามารถตรวจสอบพบนัยสำคัญของปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธ์กับสภาพแวดล้อม ในขณะที่วิธี Eberhart และ Russell ไม่สามารถตรวจพบนัยสำคัญ และจากการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตอ้อย พบว่าค่าเสถียรภาพของวิธี LR โดย Eberhart และ Russell และค่า GE มีความสอดคล้องกับข้อมูลของลักษณะ (ผลผลิตอ้อย) จากการคำนวณโดยใช้ข้อมูลและลำดับ แต่ไม่พบความสอดคล้องกับค่าเสถียรภาพที่คำนวณโดยวิธี LR ของ Eberhart และ Russell ดังนั้นการวิเคราะห์ค่า GGE ซึ่งคำนวณโดยใช้การประมวลข้อมูลของลักษณะและเสถียรภาพ จะให้ความสำคัญกับข้อมูลของลักษณะมากกว่าค่าเสถียรภาพของพันธุ์

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )