การใช้คลอโรฟิลล์มิเตอร์ประเมินระดับคลอโรฟิลล์และไนโตรเจนในใบส้มโอ|Estimation of Chlorophyll and Nitrogen Levels in Pummelo Leaves by Chlorophyll Meter

Main Article Content

สิริมาส วงศ์สุบรรณ
กฤษณา กฤษณพุกต์
ลพ ภวภูตานนท์

Abstract

           ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเขียวใบ (SPAD) ที่วัดด้วยคลอโรฟิลล์มิเตอร์ (Minolta SPAD 502) กับความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ที่สกัดได้ และความเป็นไปได้ในการใช้ค่าความเขียวใบประเมินระดับไนโตรเจน (N) ในใบของส้มโอ โดยใช้ตัวอย่างใบอายุต่างๆ กันจากต้นส้มโอพันธุ์ทองดีที่ให้ปุ๋ยไนโตรเจนระดับต่างๆ พบว่า ตัวอย่างใบที่ศึกษามีค่าความเขียวใบ ความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์รวมที่สกัดได้ (Chltotal) และความเข้มข้นของไนโตรเจนในใบอยู่ในชาวงระหว่าง22.8 – 91.0 SPAD - unit 0.01 - 0.10 มก. คลอโรฟิลล์/ซม.2 และ 1.90 - 4.22 %N ตามลำดับ อัตราส่วนระหว่างคลอโรฟิลล์เอต่อคลอโรฟิลล์บี มีค่าค่อนข้างคงที่เมื่อความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์รวมที่สกัดได้เพิ่มขึ้น ค่าความเขียวใบ และความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์รวมต่อหน่วยพื้นที่ใบและต่อหน่วยน้ำหนักสดใบมีความสัมพันธ์ที่แสดงด้วยสมการ quadratic คือ Chltotal (มก./ซม.2) = 0.00002SPAD2 – 0.0009SPAD + 0.0303 (R2 = 0.89, p-value < 0.0001) และ Chltotal (มก./ก.น้ำหนักสด) = 0.00039SPAD2 – 0.0243SPAD + 0.9867 (R2 = 0.74, p-value < 0.0001) ความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์รวมต่อหน่วยพื้นที่ใบกับระดับไนโตรเจนในใบมีความสัมพันธ์ที่แสดงด้วยสมการเส้นตรงคือ N (%) = 13.4550Chltotal + 1.9946 (R2 = 0.24, p-value < 0.0001) ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเขียวใบกับระดับไนโตรเจนในใบ แสดงด้วยสมการ quadratic ดังนี้ N (%) = 0.0008SPAD2 – 0.0886SPAD + 4.3996 (R2 = 0.53, p-value < 0.0001) 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )