การคัดเลือกเชื้อบาซิลลัสโพรไบโอติกจากทางเดินอาหารของกุ้งก้ามกรามจากคลองธรรมชาติในจังหวัดนครปฐม | Primary Selection For Probiotic Bacilli from Gastrointestinal Tract of Giant Fresh Water Prawn from Natural Canals in Nakhon Pathom Province

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

อรวรรณ์ บุตรดี
พรพรรณ อู่สุวรรณ
กัญญา สอนสนิท

บทคัดย่อ

           การศึกษาความสามารถของเชื้อจุลินทรีย์ที่คาดว่าเป็นประโยชน์ ซึ่งแยกได้จากทางเดินอาหารของกุ้งก้ามกรามจากคลองธรรมชาติ ได้แก่คลองท่าสาร (TS) คลองลำลูกบัว (LLB) และคลองห้วยม่วง (HM) ในเขตจังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม 2554 แยกเชื้อสกุลบาซิลลัส (Bacillus) ได้ จำนวน 8  ไอโซเลท ได้แก่ เชื้อไอโซเลท TSM33, TSM262, LLBM241, TSN262, TSM362, TSN63, TSM499-4  และ HMN151 นำเชื้อทั้งหมดมาทดสอบความสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค 4 ชนิด คือ  Aeromonas hydrophila, Vibrio harviyi, Vibrio parahaemolyticus และ Escherichia coli   โดยวิธี Agar Well Diffusion Assay จากการศึกษาความสามารถในการยับยั้งเชื้อ พบว่า เชื้อทุกไอโซเลท สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคได้ 3 ชนิด ได้แก่ A. hydrophila, V. harviyi  และ E.  coli แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อ V. parahaemolyticus  เมื่อนำเชื้อทั้งหมดมาทดสอบความสามารถในการเจริญในสภาวะต่างๆ ได้แก่ ความเข้มข้นของ bile salt ความเข้มข้นของ NaCl การทนกรด-เบส และอุณหภูมิที่ระดับต่างๆ พบว่าเชื้อทุกไอโซเลทสามารถเจริญได้ดีในสภาวะความเข้มข้นของ NaCl ที่ 0-9% เจริญได้ดีในสภาวะอุณหภูมิตั้งแต่ 20-42 °C เจริญได้ดีในสภาวะที่มี pH 5-9 แต่พบว่าเชื้อทุกไอโซเลทเจริญในสภาวะเกลือน้ำดีได้เพียง 0-3 %  เมื่อนำเชื้อทั้งหมดมาจำแนก โดยการวิเคราะห์ลำดับเบสในส่วนของยีน 16S rDNA พบว่า เชื้อทั้งหมด เป็นเชื้อที่อยู่ในสกุลบาซิลลัส ได้แก่   B.  subtilis TSM33,  B.  subtilis TSM262, B.  subtilis LLBM241, B. subtilis TSN262, B. aryabhattai TSM362, B. amyloliquefacian TSN63, B. amyloliquefacian TSM499-4 และ B.  thuringiensis HMN151  ดังนั้นเชื้อเหล่านี้ จึงมีคุณสมบัติ เลือกใช้เป็นโพรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามต่อไปได้

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )