การตรวจสอบศักยภาพการใช้ลักษณะไกลซีนบีเทนภายใต้สภาวะขาดน้ำในโรงเรือน ในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่มีผลผลิตสูงในสภาพแปลง Evaluation of Potential in Using Glycine Betaine Characters under Water Deficit in Nursery for Selection High Cane Yield Sugarcane Varieties in Field Condition

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ทิพย์สุดา อุยพานิช
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์

บทคัดย่อ

            ศึกษาปริมาณไกลซีนบีเทนในอ้อยที่ขาดน้ำในโรงเรือน เพื่อตรวจสอบศักยภาพในการใช้เป็นลักษณะสำหรับการคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับการปลูกในแปลง โดยตรวจสอบปริมาณไกลซีนบีเทนของอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 8 พันธุ์ อายุ 3 เดือนที่ปลูกในกระถาง ที่งดน้ำเป็นเวลา 3, 6, 9 และ 12 วัน ทำการวิเคราะห์ไกลซีนบีเทนในลักษณะต่างๆ จากนั้นคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะไกลซีนบีเทนกับผลผลิตอ้อยทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอจากแปลงทดสอบพันธุ์ 19 แปลง พบว่า อ้อยที่งดน้ำเป็นระยะเวลาต่างกันในโรงเรือน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณไกลซีนบีเทน โดยหลังการงดน้ำมีปริมาณไกลซีนบีเทนเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการงดน้ำ โดยมีค่าสูงสุดเมื่องดน้ำเป็นเวลา 9 วัน แต่ปริมาณไกลซีนบีเทนลดลงเมื่องดน้ำเป็นเวลา 12 วัน โดยมีค่าต่ำกว่าที่ได้รับน้ำปกติ (ได้รับน้ำทุก 3 วัน) นอกจากนี้ในสภาพขาดน้ำเป็นระยะเวลาต่างๆ ในโรงเรือน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของปริมาณไกลซีนบีเทนระหว่างพันธุ์อ้อย ทั้งหลังงดน้ำและหลังการฟื้นตัว ที่งดน้ำเป็นระยะเวลาต่างๆ ในส่วนของการตรวจสอบศักยภาพในการใช้ไกลซีนบีเทนในการคัดเลือกพันธุ์อ้อย พบว่าลักษณะของไกลซีนบีเทนที่มีศักยภาพสูงสุดในการใช้ประเมินศักยภาพของพันธุ์อ้อยในการให้ผลผลิตคือ เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบปริมาณไกลซีนบีเทนหลังการงดน้ำ 6 วันกับที่ได้รับน้ำปกติโดยเฉพาะในอ้อยตอ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )