ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมหลากหลาย เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ งานวิจัยและเทคโนโลยี ใหม่ๆทางด้านนี้และเป็นการบูรณาการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดทำวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี  (Journal  of  Animal  Health Science and Technology, JAHST) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่เกิดจากโครงการวิจัยของอาจารย์ในสาขาวิชา  โครงงานวิทยาศาสตร์  ปัญหาพิเศษ  และวิทยานิพนธ์ของนิสิต นักศึกษา  ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาสู่สาธารณชน  อันจะนำไปสู่การพัฒนาและการประยุกต์ใช้ องค์ความรู้ด้านต่างๆ ในเชิงบูรณาการ โดยเผยแพร่ในรูปแบบของบทความวิจัย (Research article) บทความ วิชาการ (Academic article) บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น (Short communication) และสาระน่ารู้ (Miscellaneous article) รวมถึงบทความวิจัยในลักษณะงานบริการวิชาการแก่สังคม (Academic service article)

โดยขอบเขตของ บทความที่จะลงตีพิมพ์ เป็นงานทางด้านเทคนิคการสัตวแพทย์และการพยาบาลสัตว์ ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อ สุขภาพของคนและสัตว์  ตลอดจนวิทยาการหรือความรู้ใหม่ที่นำไปสู่งานวิจัยทางด้านสุขภาพสัตว์ โดยในการ ศึกษาคลอบคลุมสัตว์เลี้ยง สัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร สัตว์ป่าและสัตว์ทดลอง

กำหนดออก

ปีละ 3 ฉบับ

ฉบับที่ 1 มกราคม –  เมษายน
ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 

รูปแบบการทำต้นฉบับ   
           
บทความและผลงานการศึกษาวิจัย ที่ประสงค์ส่งตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และ เทคโนโลยี  (Journal  of  Animal  Health  Science  and  Technology)  ทุกรูปแบบเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนบทคัดย่อและส่วนเนื้อเรื่อง ความยาวของบทความไม่เกิน 14 หน้า กระดาษ A4 พิมพ์พ์ด้วย  Microsorft  word  2003-2013  ใช้ตัวอักษร  Cordia  New  สำหรับหัวข้อเรื่องใช้ตัวอักษรหนาขนาด 18  พอยด์  ชื่อคณะผู้วิจัยและผู้รับผิดชอบบทความใช้ตัวอักษรหนาขนาด  16  พอยด์  ชื่อสถานบันใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด  14  พอยด์ และเนื้อเรื่องตัวอักษรปกติขนาด 16 พอยด์ และให้ตั้งค่าหน้ากระดาษ ขอบบน (Top margin) 0.8 นิ้ว ขอบล่าง (Bottom margin) 0.8 นิ้ว ขอบซ้าย (Left margin) 1.2 นิ้ว และขอบขวา (Right margin) 0.8 นิ้ว ระยะห่างระหว่างบรรทัด เป็น single space มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ส่วนบทคัดย่อ

  1. บทคัดย่อประกอบด้วยชื่อเรื่อง (Title)  ชื่อผู้เขียน  (Authors)  ชื่อและที่อยู่ของหน่วยงาน  และเนื้อหา ต้องเขียนอย่างกะทัดรัด ไม่เกิน 250 คำ พร้อมคำสำคัญ (Keywords)
  2. ชื่อเรื่อง ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ตัวอักษรแรกของทุกคำให้ใช้ตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้นคำนำหน้านาม (Article)  คำบุพบท (Preposition) และคำสันธาน (Conjunction) ให้ใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก และจัดกลางหน้ากระดาษ
  3. ชื่อคณะผู้วิจัยและผู้รับผิดชอบบทความ ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล  โดยไม่ต้องมีคำหน้านาม หรือคุณวุฒิ และใส่เครื่องหมายดอกจัน (Asterisk, *) หลังนามสกุลของผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding  author)  สำหรับภาษาไทย  ให้ใส่และนำหน้าผู้วิจัยคนสุดท้ายโดยไม่ต้องเว้นวรรค      และสำหรับภาษาอังกฤษให้ใส่จุลภาค (Comma) หลังนามสกุล ยกเว้นคนสุดท้ายให้ใส่นำหน้าด้วย and และไม่ต้องใส่จุลภาคด้านหน้า “and” และจัดชิดขอบขวาของหน้ากระดาษ
  4. ชื่อสถาบันขึ้นบรรทัดใหม่ หากมีมากกว่า 1 สถาบัน ให้ใช้ตัวเลขยก (Superscript) กำกับหน้าชื่อ สถาบันและหลังชื่อผู้วิจัยให้ตรงกัน อีเมล์ของผู้รับผิดชอบบทความ พิมพ์บรรทัดใหม่ใต้ชื่อสถาบัน ด้วยตัวอักษรปกติขนาด 14 พอยด์ และจัดชิดขอบขวาของหน้ากระดาษ
  5. E-mail ของผู้รับผิดชอบบทความขึ้นบรรทัดใหม่  ใส่เครื่องหมายดอกจัน  (Asterisk,  *)  ด้านหน้า Email ใช้ ตัวอักษรปกติขนาด 14 พอยด์ และจัดชิดขอบขวาของหน้ากระดาษ
  6. คำสำคัญ (Keywords) ให้ขึ้นบรรทัดใหม่และมีจำนวนไม่เกิน 5 คำ

 ส่วนเนื้อเรื่อง

  1. เนื้อเรื่องประกอบด้วย บทนำ (Introduction)  ระเบียบวิธีวิจัย  (Research  Methodology)  ผลการวิจัย (Results) อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) สรุปผลการวิจัย (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) และเอกสารอ้างอิง (References)
  2. บทนำ เป็นการอธิบายความสำคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  3. วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการอธิบายวิธีการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูลรวมทั้งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
  4. ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย เป็นการเสนอผลการศึกษาตามสิ่งที่ค้นพบ ให้นำเสนอในรูปของ ตารางแสดงผล และรูปภาพ ทั้งนี้คำอธิบายและรายละเอียดต่างๆ  ของตารางและรูปภาพต้องมี ความชัดเจน กระชับ และมีหมายเลขกำกับด้านล่างของภาพ หรือตาราง  อภิปรายผลการศึกษาโดย เปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่น และ/หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
  5. ภาพประกอบ ส่งไฟล์นามสกุล jpg หรือ tif และควรมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 x 300 dpi โดยให้ใช้ รูปที่ 1 (ตัวหนา) และคำอธิบายรูป รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของเมธิลออเรนจ์
  6. ตาราง ให้ใช้ ตารางที่ 1 (ตัวหนา) อยู่เหนือตาราง เช่น ตารางที่ 1 สมบัติทางกายภาพของสารประกอบ อินทรีย์
  7. เอกสารอ้างอิง เป็นการเขียนเอกสารอ้างอิง ให้ยึดถือรูปแบบตามตัวอย่าง ดังนี้

ดวงพร สุวรรณกุล. 2543.   ชีววิทยาพืช   พนฐานการจัดการวัชพืช.   สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2531. สารกำจัดวัชพืช. เชียงใหม่คอมพิวกราฟฟิค,  เชียงใหม่.

พิทวัส  วิชัยดิษฐ.  2552.  ผลของสารสกัดจากฟางข้าวต่อกระบวนการสรีรวิทยาบางประการ.  ปัญหา พิเศษ ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Chokejaroenrat, C., C. Sakulthaew, T. Satapanajaru, T. Tikhamram, A. Pho-Ong and T. Mulseesuk. 2015. Treating methyl orange in a two-dimensional flow tank by in situ chemical oxidation using slow-release persulfate activated with zero-valent iron. Environmental Engineering Science 32: 1007-1015.

Chung, I.M., J. K. Ahn and S. J. Yun. 2001. Assessment of allelochemical potential of barnyard grass (Echinochloa crus-galli) on rice (Oryza sativa L.) cultivar. Crop Protection 20: 921-928. กรมควบคุมมลพิษ. 2552. มหันตภัยไดอ๊อกซิน (Dioxins). Available Source:  http://www.pcd.go.th/

info_serv/haz_dioxin.html, 17 ตุลาคม 2559.

  1. กิตติกรรมประกาศ เป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ทุนวิจัย  หรือผู้ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการ วิจัย
  2. ตัวเลขให้พิมพ์โดยใช้ฟอนต์ภาษาอังกฤษเท่านั้น