การศึกษาย้อนหลังพยาธิในเลือดของสุนัขในจังหวัดกาญจนบุรี ปี พ.ศ. 2555 - 2559 | Retrospective Study of Canine Blood Parasites Infections in Kanchanaburi Province During 2012-2016

Main Article Content

วิษณุ วงษ์สว่าง
สินีนาถ เจียมทวีบุญ

Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) เพื่อศึกษาความชุกของพยาธิในเลือดของสุนัข ความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยง ความสัมพันธ์ของอาการทางคลินิก ต่อการติดเชื้อพยาธิในเลือดของสุนัขในจังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างปี พ.ศ.2555 – 2559 จำนวนทั้งสั้น 2,292 ตัวอย่าง พบว่ามีความชุกของการติดเชื้อพยาธิในเลือดของสุนัขเท่ากับร้อยละ 22.20 ความชุกของการติดเชื้อ Ehlrlichia canis, Hepatozoon canis, Babesia canis, Brugia spp., Dirofilaria immitis, Babesia gibsoni เท่ากับร้อยละ 16.97, 4.01, 2.31, 0.52, 0.21, 0.17 ตามลำดับ ปัจจัยเพศ อายุ และการติดเห็บ มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สุนัขที่แสดงอาการป่วยมีความชุกของการติดเชื้อมากกว่าสุนัขที่ไม่แสดงอาการป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสุนัขที่แสดงอาการซึม ไม่กินอาหาร เยื่อเมือกซีด มีไข้ มีจ้ำเลือด และดีซ่าน มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวินิจฉัย ป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาวิจัยขั้นสูงในอนาคตต่อไป


This Retrospective study was carried out on clinical record of blood parasitological test at Livestock and wildlife hospital, Mahidol University, Saiyok, Kanchanaburi. In the period 2012- 2016, 2,292 clinical records were reviewed by means of clinical history and the present of ticks or history of infestation. The prevalence of blood parasites infection in dog was 22.20%. Ehlrlichia canis show the higher prevalence (16.97%), followed by Hepatozoon canis (4.01%), Babesia canis (2.31%), Brugia spp. (0.52%), Dirofilaria immitis (0.21%) and Babesia gibsoni (0.17%). There was a statistically significant relationship with Sex, Age, and Tick infection. The dogs showing clinical signs of infection had a significantly higher prevalence of infection than did dogs with no clinical signs. The dogs showing symptoms of depressed, anorexia, pale mucous membranes, fever, bleeding and jaundice were significantly associated with infection. Overall, dogs are companion animals, and the prevalence of blood parasite infection will be concern in daily. This study will provide guide for disease control and further study.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย