ผลของระยะเวลาในการหมักต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี ของปุ๋ยหมักเทศบาล จากการหมักด้วยไส้เดือนดินสีแดง (Eudrilus eugeniae) Influenced of composting time to chemical properties changes of municipal solid waste by earthworms (Eudrilus eugeniae)
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
บทคัดย่อ
การทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผล ของระยะเวลาในการหมักต่อการเปลี่ยนแปลง สมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมักเทศบาลด้วยไส้เดือนดิน สีแดง (Eudrilus eugeniae) โดยขยะอินทรีย์ที่ ผ่านการย่อยให้มีขนาดเล็กได้มาจากศูนย์กำจัด มูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร วางแผนการ ทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 10 ตำรับ ประกอบด้วย ระยะเวลาในการหมัก 10 ระยะคือ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 สัปดาห์ โดยเปรียบเทียบกับ การไม่ใส่ไส้เดือนดินในแต่ละระยะเวลาการหมักที่ เท่ากัน ใส่ไส้เดือนดินที่มีขนาดใกล้เคียงกัน 25 ตัว ในกระบะไม้ขนาด 15x15x15 เซนติเมตร ที่บรรจุ ขยะอินทรีย์ 1,500 กรัม รักษาความชื้นไว้ที่ร้อย ละ 70 เก็บปุ๋ยหมักและแยกไส้เดือนดินเพื่อบันทึก น้ำหนัก และวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมัก จากผลการทดลองพบว่าไส้เดือนดินสีแดงสามารถ ย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ภายใน 6 สัปดาห์ (42 วัน) โดยไส้เดือนดินมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นสูงที่สุด 4.35 เท่า ในสัปดาห์ที่ 6 ปุ๋ยหมักไส้เดือนดินมีสภาพเป็น ด่างปานกลาง (pH 8.2) และไส้เดือนดินสีแดงมี ประสิทธิภาพต่ำในการลดค่าการนำไฟฟ้าของปุ๋ย หมัก ขยะอินทรีย์จากกรุงเทพมหานครมีปริมาณ อินทรียวัตถุสูง (ร้อยละ 61.7) ทำให้อินทรียวัตถุ ของปุ๋ยหมักทั้งที่ใส่และไม่ใส่ไส้เดือนดินสูงตามไป ด้วย สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนลดลงใน สัปดาห์ที่ 8-10 อย่างไรก็ตาม ทุกระยะของการหมักมีสัดส่วนที่ต่ำกว่า 20 ปริมาณมหาธาตุ(ยกเว้น โพแทสซียม) และจุลธาตุเพิ่มขึ้น ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5-10
The chemical properties changes in municipal solid waste compost during processing by earthworms (Eudrilus eugeniae) were investigated. Earthworms were introduced into each of 30 wood containers (15x15x15 cm) contained 1,500 g of organic municipal solid waste from Bangkok (On-nut) disposal center. The composts were collected on each week over a period of ten weeks. Weights of earthworms were recorded. Compost samples were analyzed for chemical properties and compared to the others set of compost without earthworms. The result revealed that the composition was completed within 6 weeks (42 days) as the highest of earthworm weight (increased 4.35 times) was observed. Earthworms gave the higher pH (8.2) as compared to that of no earthworms (pH 7.6) and its shown weak ability to decreased electrical conductivity of compost. Organic municipal solid waste from Bangkok has high organic matter content (61.7%) reflected to high organic matter of composts in both with and without earthworm. The C/N ratio was decreased on the 8th-10th weeks. However, C/N ratio was lower than 20 in all period of decomposition. Macronutrients (N, P, Ca and Mg) and micronutrients (Fe, Mn, Cu and Zn) were increased from 5 to 10 weeks due to the mineralization of dead earthworms by microorganism. However, it was not observed on K.