ชนิดและการกระจายของพืชพรรณบนพื้นที่ดินเค็มจัดบริเวณลุ่มน้ำชี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กัลยา กองเงิน
วิทยา ตรีโลเกศ
บุปผา โตภาคงาม
สำอาง หอมชื่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของฤดูกาลและสมบัติของดินที่มีต่อจำนวนชนิดและ การกระจายของพืชพรรณที่ขึ้นได้บนพื้นที่ดินเค็มจัด บริเวณลุ่มน้ำชีใน 3 เขตพื้นที่ คือ 1) อ.ยางตลาด จ. กาฬสินธุ์2) อ.บำเหน็จณรงค์จ.ชัยภูมิ3) อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เก็บตัวอย่างพืชและดินโดยการวางแปลง ตัวอย่างแบบ stratified sampling method ในช่วง ฤดูแล้งและฤดูฝนของปี พ.ศ.2553-2555 จากการ ศึกษาพบพืชทั้งหมด 95 ชนิด เป็นไม้ยืนต้น 12 ชนิด ไม้พุ่ม 12 ชนิด ไม้ล้มลุก 71 ชนิด ใน 95 ชนิดเป็น พืชชอบเกลือ 5 ชนิด คือ หนามพุงดอ หนามแดง ขลู่ สร้อยนกเขา และผักเบี้ยแดง อีก 90 ชนิดเป็นพืช ทนเค็ม ทุกพื้นที่ศึกษาพบจำนวนชนิดพืชและเปอร์เซ็นต์ การปกคลุมหน้าดินของพืชในฤดูฝนมากกว่าในฤดูแล้ง ทั้งสองฤดูพบพืชที่ขึ้นเฉพาะบนพื้นที่ดินเค็มจัดและ มีเปอร์เซ็นต์การปกคลุมหน้าดินมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ 3 อันดับแรกคือ หนามพุงดอ หนามแดง และขลู่ สมบัติของดินในฤดูแล้งในพื้นที่โล ่งและในพื้นที่ที่มี พืชปกคลุม มีค่าการนำไฟฟ้าอยู่ในช่วง 46-185 และ 5.7-147.3 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร ตามลำดับ ค่าความชื้น ในดินในฤดูแล้งและในฤดูฝน มีค่าโดยเฉลี่ย 10.8% และ 17.2% ตามลำดับ ค่าพีเอช (pH) ในฤดูแล้งและ ในฤดูฝน มีค่าเฉลี่ย 6.86 และ 7.3 ตามลำดับ จำนวน พืชพรรณที่ขึ้นได้บนพื้นที่ดินเค็มจัดและรูปแบบการ แพร่กระจายในพื้นที่ศึกษาทั้งสามพื้นที่คล้ายคลึงกัน โดยขึ้นกับค่าสมบัติของดิน ฤดูกาล และความสามารถ ในการทนเค็มของพืชแต่ละชนิด

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
บทความวิจัย