ความเข้มข้นของธาตุอาหารในดินและใบ และปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกในชุดดินรังสิต
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
บทคัดย่อ
ศึกษาสมบัติดินปลูกปาล์มน้ำมันและการ เปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกแบบยกร่องในชุดดินรังสิต คัดเลือกสวนปาล์ม น้ำมันจากปริมาณผลผลิตและความสมบูรณ์ของต้น โดยเลือกสวนที่สมบูรณ์1 สวนและสวนไม่สมบูรณ์1 สวน ของเกษตรกร อ.หนองแค จ.สระบุรีในปี2554 หลังจากนั้นคัดเลือกต้นปาล์มน้ำมันที่มีลักษณะใกล้ เคียงกันในแต่ละสวนๆ ละ 10 ต้น เก็บตัวอย่างดิน 2 ครั้ง คือครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2554 และครั้ง ที่ 2 เดือนกันยายน 2554 โดยเก็บที่ระดับความลึก 0-20 ซม. ต้นละ 4 จุด แล้วน้ำมารวมกันเป็น 1 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน สำหรับ การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในใบ วิเคราะห์ในใบ ปาล์มน้ำมัน โดยเก็บใยปาล์มทุก 2 เดือน จำนวน 5 ครั้ง จากต้นเดียวกันกับที่เก็บตัวอย ่างดิน โดยเก็บ ทางใบที่ 17 แล้วเก็บใบย่อยจากส่วนกลางของทางใบ ที่ 17 ทั้งสองด้าน ด้านละ 3 ใบย่อย นำมาตัดเอา เฉพาะส่วนกลางของใบย่อย ยาว 6 นิ้ว ผลการทดลอง พบว่าดินทั้ง 2 สวนเป็นกรดและอินทรียวัตถุสูงมีP, K, Ca และ Mg สูง ส่วนจุลธาตุในดินพบว่าสวนทีสมบูรณ์มีFe, Mn, Cu, Zn และ B สูง และ EC สูงด้วย ในขณะที่สวนไม่สมบูรณ์มีธาตุ Fe สูง แต่มี Mn, Cu, Zn, B และค่า EC ปานกลาง สำหรับ ปริมาณธาตุอาหารในใบส่วนใหญ่มีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ยกเว้น Ca ที่มีระดับเพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงพบเห็นอาการขาดธาตุ K, Mg และ B ที่ใบปาล์ม น้ำมันของทั้ง 2 สวน และพบความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ของ K กับ Ca และ K กับ Mg ส่วนปริมาณผลผลิต พบว่า สวนที่สมบูรณ์มีผลผลิตสูงกว่าสวนไม่สมบูรณ์ ที่มีอายุต้นเท ่ากัน และเมื่อต้นอายุมากขึ้น ปริมาณ ผลผลิตก็เพิ่มขึ้น