ประสิทธิภาพในการดักตะกอนจากน้ำหลากของรั้วหญ้าแฝก|Efficiency of Vetiver Hedge for Floodplain Sediment Trapping

Main Article Content

สมชาย ดอนเจดีย์

Abstract

           งานวิจัยครั้งนี้ศึกษาประสิทธิภาพของความหนาของกอหญ้าแฝกในการดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำหลาก โดยทำการทดลองในรางคอนกรีตฉาบเรียบหน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด กว้าง 0.75 ม. ลึก 0.6 ม. ยาว 10 ม.ที่ความลาดชัน 7 เปอร์เซ็นต์ หญ้าแฝกสายพันธุ์ศรีลังกาที่มีความหนา 15, 30, 45 และ 60 ซม. ถูกนำมาทดสอบ โดยใช้อัตราการไหลของน้ำหลากเท่ากับ 0.4, 0.6, 0.8, 1.0 และ 1.2 ลบ.ม./นาที/ม. และมีปริมาณตะกอนไหลเข้าเท่ากับ 200 กรัม/นาที จากการศึกษาพบว่าหญ้าแฝกพันธุ์ศรีลังกามีประสิทธิภาพการดักตะกอนที่ 69-92 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการดักตะกอนของหญ้าแฝกลดลงเมื่ออัตราการไหลของน้ำหลากเพิ่มขึ้นหรือความหนาของกอหญ้าแฝกลดลง ตะกอนที่ถูกดักไว้นั้นเกิดจากเม็ดตะกอนมีเวลามากพอที่จะตกลงสู่ท้องราง ไม่ได้เกิดจากความไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านกอหญ้าแฝกได้ ดังนั้นหญ้าแฝกจึงไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวกรองตะกอนแต่ทำหน้าที่เสมือนทำนบที่ชะลอความเร็วของน้ำหลาก เมื่อพิจารณาขนาดตะกอนที่ไหลผ่านกอหญ้าแฝกพบว่าตะกอนที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.1 มม. มีเพียง 15.1%ของปริมาณตะกอนทั้งหมด อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าควรใช้หญ้าแฝกทีมีความหนาอย่างน้อย 30 ซม. ในการชะลอการหลากของน้ำ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering )