การตอบสนองของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนต่อปริมาณฝน ลักษณะเนื้อดิน และวันปลูก |Responses of Kampheang Sean Sugarcane Varieties to Amount of Rainfall, Soil Texture and Planting Date
Main Article Content
Abstract
วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ เนื้อดิน ปริมาณน้ำฝน และวันปลูก ต่อผลผลิตอ้อยจากแปลงเปรียบเทียบพันธุ์อ้อย ของศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและนํ้าตาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพื้นที่อาศัยนํ้าฝน จำนวน 8 แปลง แต่ละแปลงมีพันธุ์อ้อยทดสอบจำนวน 16 พันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบจำนวน 4 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 4 ซํ้า วิเคราะห์ผลโดยการคำนวณการถดถอยเชิงเส้นตรง ทั้งนี้การถดถอยเชิงพหุ และคำนวณการประมาณนํ้าฝนโดยใช้โปรแกรม ANUDEM ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงหุ พบว่าสภาพแวดล้อมมีผลต่อพันธุ์อ้อยทั้งหมดแตกต่างกัน โดยปริมาณน้ำฝนหลังปลูกช่วง 5-8 เดือนมีอิทธิพลทางบวก ต่อพันธุ์อ้อยจำนวน 15 พันธุ์ ส่วนเปอร์เซ็นต์ดินเหนียวมีอิทธิพลทางลบในพันธุ์อ้อย 14 พันธุ์ วันปลูกมีอิทธิพลทางบวกและทางลบ ต่อพันธุ์อ้อยจำนวน 9 พันธุ์ โดย 7 พันธุ์เป็นทางบวก และ 2 พันธุ์เป็นทางลบ และเปอร์เซ็นต์ดินทรายแป้งมีอิทธิพลทางบวกและทางลบต่อพันธุ์อ้อย 8 พันธุ์ โดย 7 พันธุ์เป็นทางบวก และ 1 พันธุ์เป็นทางลบ ความแตกต่างในการตอบสนองทางสภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้สามารถจัดกลุ่มพันธุ์อ้อยที่ศึกษาออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 5 พันธุ์ เป็นกลุ่มพันธุ์ที่ตอบสนองทางลบต่อ เปอร์เซ็นต์ดินเหนียว ตอบสนองทางบวกต่อน้ำฝนช่วง 5- 8 เดือน และวันปลูก กลุ่มที่ 2 จำนวน 3 พันธุ์ เป็นกลุ่มพันธุ์ที่ตอบสนองทางลบต่อเปอร์เซ็นต์ดินเหนียว และ ตอบสนองทางบวกต่อน้ำฝนช่วง 5- 8 เดือน กลุ่มที่ 3 จำนวน 3 พันธุ์ เป็นกลุ่มพันธุ์ที่ตอบสนองทางบวกต่อน้ำฝนช่วง 5- 8 เดือน กลุ่มที่ 4 จำนวน 3 พันธุ์ เป็นกลุ่มพันธุ์ที่ตอบสนองต่อเปอร์เซ็นต์ดินทรายแป้งในทางบวกและตอบสนองต่อเปอร์เซ็นต์ดินเหนียวในทางลบ กลุ่มที่ 5 จำนวน 2 พันธุ์ เป็นกลุ่มพันธุ์ที่ตอบสนองทางบวกต่อเปอร์เซ็นต์ดินทรายแป้งและปริมาณน้ำฝนช่วง 5-8 เดือน แต่ตอบสนองทางลบต่อเปอร์เซ็นต์ดินเหนียว กลุ่มที่ 6 จำนวน 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่ตอบสนองทางบวกต่อเปอร์เซ็นต์ดินทรายแป้ง แต่ตอบสนองทางลบต่อวันปลูก นอกจากนี้มีพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆแตกต่างจากพันธุ์อื่น จำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กำแพงแสน 01-1-12 ตอบสนองทางบวกต่อปริมาณน้ำฝนช่วง 5-8 เดือนและวันปลูก และ KK 3 ตอบสนองทางลบต่อเปอร์เซ็นต์ดินทรายแป้งและดินเหนียว และตอบสนองทางบวกต่อปริมาณน้ำฝนช่วง 5-8 เดือน และวันปลูก ทั้งนี้พบสมการการตอบสนองต่อปัจจัยของพันธุ์ KK 3 นี้มีค่าสูงสุดถึง 75.8% นอกจากนี้พบว่าเปอร์เซ็นต์ดินทราย ปริมาณน้ำฝนช่วง 1-4 เดือนหลังปลูก และ ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ 9 เดือน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นที่ศึกษา จึงได้ทำการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตรงกับปัจจัยทั้ง 3 นี้ โดยพบว่า เปอร์เซ็นต์ดินทรายมีการมีผลเป็นทางลบต่อพันธุ์อ้อยเพียง 1พันธุ์ และปริมาณน้ำฝนช่วง 1-4 เดือนหลังปลูกมีผลเป็นทางลบต่อพันธุ์อ้อยจำนวน 7 พันธุ์ และปริมาณฝนช่วงหลังปลูกตั้งแต่ 9 เดือนมีผลเป็นทางบวกต่อพันธุ์อ้อยจำนวน 5 พันธุ์