แบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับการทำนายผลของอุณหภูมิ ความร้อนสะสม และปริมาณน้ำฝนที่อ้อยได้รับต่อคุณภาพด้านน้ำตาลของอ้อย ณ โรงงานผลิตน้ำตาล Mathematical Model for Predicting the Effects of Air Temperature, Heat Degree Days, and Amount of Precipitation on Sugar Quality of Milled Canes at Sugar

Main Article Content

ประสิทธิ์ สมจินดา
ปุญญิศา ตระกูลยิ่งเจริญ
กุมุท สังขศิลา

Abstract

            บทความนี้เป็นรายงานการจัดเตรียมข้อมูลทุติยภูมิและผลของการวิเคราะห์ เพื่อสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของอุณหภูมิ ค่าความร้อนสะสม และปริมาณฝนที่อ้อยคละได้รับในช่วงปลูกกับคุณภาพเป็นซีซีเอสของอ้อยที่เข้าหีบในโรงงานน้ำตาล โดยใช้ข้อมูลค่าซีซีเอสรายวันจากโรงงานน้ำตาล 8 โรงที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคละ 4 โรงงาน ข้อมูลภูมิอากาศจากสถานีตรวจอากาศที่ตั้งอยู่ในเขตรัศมี 80 กม. รอบโรงงานน้ำตาลแต่ละโรง เก็บข้อมูลของปีการผลิต 2550/51 ถึง 2552/53 คำนวณค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ ค่าเฉลี่ยความร้อนสะสม และปริมาณฝนที่อ้อยได้รับในช่วงเวลาสำหรับการเจริญเติบโตด้านลำต้น (275 วัน) และช่วงเวลาสะสมน้ำตาล (90 วัน) ของอ้อยที่เข้าหีบในแต่ละวัน พบว่าอ้อยที่เข้าหีบในโรงงานน้ำตาลในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าซีซีเอสเป็น 11.94-12.94%, 11.94-12.48%, 11.45-11.99% และ 12.37-12.91%, 12.22-12.99%, 11.59-12.97% ในแต่ละปีการผลิตตามลำดับ อุณหภูมิในช่วงสะสมน้ำตาลของอ้อยที่เข้าหีบในภูมิภาคทั้งสองมีค่าเป็น 24.4-26.8, 24.3-26.3, 25.1-27.3°ซ และ 23.1-25.2, 23.2-24.3, 24.5-26.1°C ในแต่ละปีการผลิตตามลำดับ ในช่วงการเจริญด้านลำต้นของอ้อยที่เข้าหีบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับน้ำฝน 800-1,350 และ 900-1,750 มม. แต่ในช่วงสะสมน้ำตาลของอ้อยในภาคเหนือได้รับน้ำฝนที่แปรปรวนมากคือ 10-480 มม. ในขณะที่อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับน้ำฝน 80-140 มม. ซึ่งมีความแปรปรวนน้อยกว่า ในช่วงการเจริญด้านลำต้นของอ้อยในภูมิภาคทั้งสองได้รับความร้อนสะสม 2,900-3,000 และ 2,600-2,800°ซ×วัน ตามลำดับ ส่วนช่วงสะสมน้ำตาลอ้อยได้รับค่าความร้อนสะสม 700-900 และ 500-750°ซ×วัน ในภูมิภาคทั้งสองตามลำดับ การที่คุณภาพของอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือดีกว่าอ้อยในภาคเหนือเกิดจากในช่วงเวลาที่อ้อยสะสมน้ำตาล อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับน้ำฝนที่น้อยกว่า และอุณหภูมิที่ต่ำกว่า หรือความร้อนสะสมที่น้อยกว่าอ้อยในภาคเหนือ ผลการวิจัยได้แบบจำลองเชิงปริมาณแสดงอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ต่อค่าคุณภาพน้ำตาล และแนวทางการใช้แบบจำลอง เพื่อใช้เป็นส่วนร่วมในการกำหนดวันเปิดหีบอ้อยให้โรงงานน้ำตาลได้รับอ้อยที่มีคุณภาพความหวานที่ดีในการนำเข้าหีบ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )