การวิเคราะห์ทิศทางและความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านตอม่อสะพานด้วยแบบจำลองอุทกพลศาสตร์แบบ 1 และ 2 มิติ| Estimation of the Flow Direction and Velocity of Water passing by the Bridge Piers by Using 1 and 2 Dimensional Hydrodynamic Models

Main Article Content

พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม

Abstract

          ตอม่อสะพาน (Bridge Pier) ในลำน้ำ อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพการไหลของน้ำในลำน้ำ และอาจส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะที่เพิ่มขึ้นในลำน้ำเดิมได้ในที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการวิเคราะห์ทิศทางและความเร็วการไหลของน้ำผ่านตอม่อสะพาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์การกัดเซาะต่อไป โดยได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองอุทกพลศาสตร์แบบ 1 มิติ และ 2 มิติ เพื่อจำลองสภาพการไหลของน้ำในแม่น้ำบางปะกง ทั้งในกรณีที่ยังไม่มีการก่อสร้าง และกรณีเมื่อมีการก่อสร้างสะพานแล้ว ผลการศึกษาในกรณีศึกษาที่ใช้เหตุการณ์น้ำหลากเป็นเงื่อนไขขอบเขตด้านเหนือน้ำ และใช้ระดับน้ำทะเลต่ำสุดกำหนดขอบเขตด้านท้ายน้ำ เป็นกรณีที่ทำให้ความเร็วการไหลเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อมีการสร้างสะพาน ความเร็วการไหลสูงสุดเพิ่มขึ้น 0.2 ม./วิ. (13 %) เมื่อเทียบกับกรณีก่อนก่อสร้างสะพานที่มีตอม่อ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของความเร็วการไหล ดังกล่าวนี้จะอยู่ด้านข้างและในบริเวณระหว่าง 2 ตอม่อสะพานตัวกลางลำน้ำ โดยกระแสน้ำเมื่อผ่านตอม่อสะพานแล้วไม่ได้มีการเบี่ยงเบนไปกัดเซาะตลิ่งแต่อย่างไร ดังนั้นจึงสรุปเบื้องต้นได้ว่า การก่อสร้างสะพานในบริเวณ ดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อการกัดเซาะที่เพิ่มขึ้นในบริเวณโดยรอบตอม่อ และบริเวณท้องน้ำในช่วงตอนกลางของแม่น้ำบางปะกงในช่วงฤดูน้ำหลากที่ระดับน้ำทะเลลงต่ำสุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering )