การรุกล้ำของความเค็ม และการแพร่กระจายความเค็มตามความยาวของลำน้ำในแม่น้ำท่าจีน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล | Longitudinal Salinity Intrusion and Dispersion along the Thachin River Due to Sea Level Rise

Main Article Content

ณัฐวุฒิ อินทบุตร
วิษุวัฒก์ แต้สมบัติ

Abstract

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยตอนบนที่มีผลต่อการรุกล้ำความเค็มในแม่น้ำท่าจีน โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อพยากรณ์การแพร่กระจายตามแนวยาวลำน้ำและการรุกล้ำความเค็มในแม่น้ำท่าจีน ผลการศึกษาจากแบบจำลองการพัดพาและการแพร่กระจายพบว่าแม่น้ำท่าจีนมีค่าสัมประสิทธิ์การแพร่กระจายเท่ากับ 400 ตารางเมตรต่อวินาที ซึ่งได้จากข้อมูลช่วงปี พ.ศ. 2553 และผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล พบว่าค่าเฉลี่ยของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในบริเวณปากแม่น้ำจะสูงกว่าระดับน้ำทะเลในบริเวณอื่นของอ่าวไทยซึ่งมีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลประมาณปีละ 3.1มิลลิเมตร ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลก โดยบริเวณปากแม่น้ำท่าจีนมีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลประมาณปีละ 19.2 มิลลิเมตร ซึ่งค่าดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดจากผลกระทบของการทรุดตัวของแผ่นดินประมาณ 14.5 มิลลิเมตรต่อปี ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่แท้จริงจึงคิดเป็นประมาณ 4.7 มิลลิเมตรต่อปี โดยการเพิ่มขึ้นของน้ำทะเลดังกล่าวจะทำให้ค่าความเค็มรุกล้ำไปในแม่น้ำเป็นระยะทางที่ไกลขึ้น ผลการพยากรณ์การรุกล้ำของความเค็มในอนาคตของปี พ.ศ. 2558 2563 และ 2568 พบว่าค่าความเค็มจะรุกล้ำเข้าไปเป็นระยะทางสูงสุด 55 กิโลเมตรจากปากแม่น้ำโดยคิดเป็นระยะทางที่เพิ่มขึ้นจากสภาพปัจจุบัน 3 กิโลเมตรตามแนวยาวลำน้ำ ค่าความเค็มที่รุกล้ำดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมริมสองฝั่งแม่น้ำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหามาตรการในการควบคุมความเค็มเพื่อลดผลกระทบต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering )