ข้อมูลลักษณะชั้นดินภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน | Subsoil Data at Kamphaeng Saen Campus of Kasetsart University
Main Article Content
Abstract
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ชั้นดินมีความซับซ้อนของลักษณะชั้นดินตามกระบวนการทางธรณีวิทยา ลักษณะชั้นดินที่พบยืนยันให้เห็นว่า อ.กำแพงแสน เป็นรอยต่อของตะกอนที่ได้รับอิทธิพลจาก Alluvial deposit และ Marine deposit สมัย Pleistocene กับ Holocene ที่ทำให้เกิดการวางตัวของชั้นทรายสลับกับชั้นดินเหนียว พบชั้นดินเหนียวอ่อนและทรายหลวมแทรกตัวอยู่บางในช่วง 3 ม.แรกเนื่องจากกำแพงแสนเป็นขอบด้านตะวันตกของดินเหนียวกรุงเทพ ทำให้ลักษณะชั้นดินมีความแตกต่างและไม่สม่ำเสมอกัน คุณสมบัติของดินมีค่า wn อยู่ระหว่าง 10 – 30 % ค่า gt อยู่ระหว่าง 1.9 – 2.2 t/m3 โดยมีสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่า wn กับ ค่า gt คือ gt = 2.55-0.176Ln (Wn) (R2 = 0.91) และความสัมพันธ์ระหว่างค่า SPT-N และค่า gt คือ gt = 0.0024N+1.9962 (R2 = 0.823) จากลักษณะชั้นดินที่พบชั้นทรายชั้นที่ 1 ที่ระดับความลึก 10 ม. และทรายชั้นที่สองที่ระดับความลึก 20 – 24 ม. ดังนั้นในการก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 4 ชั้น จึงอาจใช้เสาเข็มตอกที่มีความยาวเข็มประมาณ 10 ม. สำหรับโครงสร้างขนาดเล็ก เช่น อาคารชั่วคราว หรืออาคารชั้นเดียว หากใช้ฐานรากแผ่จำเป็นต้องระมัดระวัง เนื่องจากพบชั้นดินอ่อนแทรกตัวอยู่เป็นแห่งๆ ผลการศึกษาในครั้งนี้ยังทำให้เกิดการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลของวิทยาเขตกำแพงแสนและเกิดการขยายฐานข้อมูลร่วมกันกับระบบฐานข้อมูล ESDS-KU ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวิศวกรโยธาและที่สำคัญต่อผู้บริหารวิทยาเขตที่ในการนำไปใช้วางแผนพัฒนาการใช้พื้นที่ให้ถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป