การศึกษาสภาพเศรษฐกิจ-สังคม และการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำชลประทาน ของกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการทุ่งราบท่าง่อน อำเภอชัยธานี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว The study on Socio-economic andthe Participation of Irrigation Management on Water User Groups,ThoungHarbThaNgon Project, Xaythany District, Vientiane, Lao(s) PDR
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานสภาพทั่วไปสังคม-เศรษฐกิจและการใช้ประโยชน์ทรัพ ยากร (2) ความรู้ความเข้าใจ ระดับการมีส่วนร่วม(3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำชลประทานของกลุ่มผู้ใช้น้ำในโครงการทุ่งราบท่าง่อน อำเภอชัยธานีนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ จำนวน 340 ตัวอย่าง จากจำนวน 2,303 ครัวเรือน 5 หมู่บ้าน ประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ อาทิ ความถี่ ร้อยจากค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตลอดจนศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำ
การศึกษาด้านเศรษฐกิจ-สังคม ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย หมู่บ้าน 5หมู่บ้าน มีประชากรรวม 9,821 คน การคาดการณ์ประชากร ในอนาคต ปี พ.ศ. 2560, 2565, 2570 และ 2575 โดยมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 2.60 น้อยกว่าการเจริญเติบโตของประชากรในระดับอำเภอชัยธานี (ร้อยละ 3.05) แต่ใกล้เคียงกับอัตราการเจริญเติบโตของประชากรในระดับประเทศ (ร้อยละ 2.80) มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจโดยมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 16,279.69 ล้านบาทจำแนกเป็นภาคการเกษตรมูลค่า 2,526.71 ล้านบาท และประชากรมีรายได้เฉลี่ย 62,391 บาท/คน/ปี สูงกว่าเส้นความยากจนของประเทศที่กำหนดไว้ (60,372 บาท/คน/ปี)โครงการชลประทานมีหัวงานจำนวน 2 หัวงาน มีสถานีสูบน้ำทั้งหมด 5 เครื่องแต่ละเครื่องสามารถสูบน้ำได้ 23.4 ลบ.ม./วินาทีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ที่ 1,930 มม./ปี ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิประมาณ 25.70 °Cความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 78 %ค่าการระเหยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,107.90 มม./ปี มีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 261,742 ล้านลบ.ม.ต่อปี พื้นที่โครงการมีพื้นที่การเกษตรประมาณ 4,112 ไร่ พื้นที่การเกษตรแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ข้าว (พืชหลัก) พืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผล และพืชผัก
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอาชีพหลักทำนา แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน ร้อยละ 52.1 มีพื้นที่นาประมาณ 6-10 ไร่ โดยได้น้ำจากโครงการชลประทาน เพื่อปลูกข้าวมีรายได้เฉลี่ย 60,000 บาท/ปี มีความรู้ในการจัดการน้ำชลประทานอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมีส่วนร่วมในระดับปานกลางในทุกด้าน คือด้านการได้รับประโยชน์จากการจัดสรรน้ำชลประทานด้านการวางแผนการใช้น้ำชลประทาน และด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาระบบชลประ ทานทั้งนี้ปริมาณน้ำต้นทุนมีความเพียงพอกับความต้องการในทุกกิจกรรมของโครงการ