ผลของสารกำจัดวัชพืชก่อนงอกต่อค่าความเขียวใบและผลผลิตของอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 10 พันธุ์ | Effect of Pre-emergence Herbicides on Spad Reading and Cane Yield of 10 Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties

Main Article Content

พรอนันต์ พูลเพิ่ม
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์

Abstract

             ทำการทดสอบผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก 2 ชนิด ได้แก่ สารกำจัดวัชพืชอามีทรีน และสารกำจัดวัชพืชผสมไดยูรอนกับเฮกซาซิโนน ที่ทำการพ่นครั้งที่สองหลังจากอ้อยงอก โดยใช้อัตราแนะนำขั้นต่ำและขั้นสูง เก็บข้อมูลความเขียวใบหลังจากได้รับสารที่ 7, 15, 30 และ 45 วัน และผลผลิตอ้อยเมื่ออ้อยอายุ 10 เดือน วางแผนการทดลองแบบ split plot in RCBD ปัจจัยหลัก คือ วิธีการกำจัดวัชพืช 6 วิธี และปัจจัยรองเป็นพันธุ์อ้อยกำแพงแสนจำนวน 10 พันธุ์ แต่ละแปลงย่อยจำนวน 2 แถว ยาว 8 เมตร ระยะระหว่างแถว 1.5 เมตร จากผลการทดลองพบว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชอามีทรีน และสารกำจัดวัชพืชผสมไดยูรอนกับเฮกซาซิโนน มีผลทำให้ค่าความเขียวใบลดลง โดยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะที่ 7 และ 15 วันหลังได้รับสาร ซึ่งพบเฉพาะใบอ้อยบางพันธุ์ ทำให้สามารถจัดกลุ่มพันธุ์อ้อยตามความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าความเขียวใบ และเมื่อพิจารณาร่วมกับการลดลงของผลผลิตอ้อยเมื่อใช้สารกำจัดวัชพืชในอ้อยแต่ละพันธุ์ พบว่าการใช้ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าความเขียวใบ สามารถใช้ในการประเมินพันธุ์อ้อยที่อาจได้รับผลกระทบต่อการลดลงของผลผลิตสำหรับการใช้สารกำจัดวัชพืชผสมไดยูรอนกับเฮกซาซิโนน โดยพบว่าพันธุ์อ้อยที่มีค่าความแตกต่างที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติของค่าความเขียวใบ ทั้งอัตราแนะนำขั้นต่ำและขั้นสูง มีแนวโน้มที่เมื่อใช้สารกำจัดวัชพืชนี้ ได้ผลผลิตของอ้อยที่ใกล้เคียงกับการกำจัดวัชพืชด้วยมือ ในขณะที่พันธุ์อ้อยมีค่าความเขียวใบ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่อัตราแนะนำขั้นต่ำ อัตราแนะนำขั้นสูง และมีค่าความแตกต่างของความเขียวใบทั้งสองอัตรา นอกจากนี้ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเขียวใบกับการลดลงของผลผลิต โดยที่เมื่อใช้สารกำจัดวัชพืชอามีทรีนไม่พบแนวโน้มของความสัมพันธ์นี้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )