ผลของอุณหภูมิอากาศต่อจลนศาสตร์ของการอบแห้งเมล็ดชาน้ำมัน (Camelia Oleifera) และคุณภาพน้ำมันเมล็ดชา | Effect of Air Temperature on Drying Kinetics of Camelia Oleifera Seed and Quality of Tea Seed Oil

Main Article Content

เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์
บวร แสงสุวรรณ

Abstract

            วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาสมการอบแห้งแบบชั้นบาง และ ผลของอุณหภูมิในการอบแห้งที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำมันเมล็ดชาโดยการลดความชื้นเมล็ดชาน้ำมัน (Camelia Oleifera) แบบไม่กะเทาะเปลือกจากค่าความชื้นเริ่มต้น 15.18 ± 0.35 % จนมีค่าความชื้นสุดท้าย 7 ± 1 %wb ด้วยแสงแดดและตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50, 60, 70, 80, 90, 100, 110 และ 120 ºC โดยงานวิจัยนี้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วนคือ (1) ลดความชื้นเมล็ดชาน้ำมันเพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และ (2) หาปริมาณน้ำมันและตรวจสอบคุณภาพน้ำมันที่ได้รับอิทธิพลจากการลดความชื้นเมล็ดชาที่อุณหภูมิต่าง ๆ จากผลการทดลองในส่วนที่ (1) พบว่าสมการแบบจำลองการอบแห้งของ Page’s model สามารถให้ผลการทำนายได้ดีที่สุดโดยใช้เวลาในการอบแห้งมากที่สุด 7 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 50 ºC และน้อยที่สุด 1 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 120 ºC ในส่วนที่ (2) ผลของปริมาณน้ำมันเมล็ดชาที่สกัดด้วยสารละลาย ปิโตรเลียมอีเทอร์อยู่ในช่วง 33.77 – 34.86 % ซึ่งมากกว่าการสกัดด้วยเครื่องสกัดแบบเพลาเดี่ยวโดยมีค่าในช่วง 26.43 – 28.88 % ในการหาค่าสีด้วยเครื่องวัดสี Colorimeter Lovibond พบว่าค่าสีที่ได้ไม่มีความแตกต่างกันและจากการวัดค่าสีด้วยเครื่อง Spectrophotometer พบว่าค่าความแตกต่างของสีน้ำมันเมล็ดชา ( E) มีค่าระหว่าง 0.26 – 0.58ส่วนค่า Acid value (AV) และ Peroxide value (PV) มีค่าระหว่าง 2.02 – 2.36 mgKOH/g และ 4.02 – 4.55 mEq/kg ตามลำดับ สำหรับค่าร้อยละของกรดไขมันโอเมก้า 3, 6, 9 มีค่าอยู่ในช่วง 0.196 – 0.264, 8.533 – 7.738 และ 72.63 – 73.54 ตามลำดับ สรุปได้ว่าอุณหภูมิในการอบแห้งเมล็ดชาน้ำมันทั้ง 8 ระดับในช่วง 50 – 120 ºC ไม่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของน้ำมันเมล็ดชาที่สกัดได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering )