การประเมินเสถียรภาพของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนชุดปี 2007 ในอ้อยตอโดยการวิเคราะห์ | GGE The evaluation of Stability of Kamphaeng Sean Sugar Cane Varieties Series 2007 in Ratoon Cane by GGE Evaluation

Main Article Content

ธิศวรรณ บัวเฉียง
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน

Abstract

          Cultivar trials of 10 Kamphaeng Saen sugar cane cultivars, series 2007 of Cane and Sugar Research and Development Center, Kasetsart University, using Khon Khen 3 as the comparison cultivar, were conducted in 9 locations. Each trail applied RCBD, 3 replications. Results from the combined analysis of variance of CCS cane yield and sugar yield in the first ratoon cane showed that the environment really affected the ratoon cane variance in every aspect. Sum percentage of squares was higher than 50 percent. Particularly, the CCS was high at 79.32 percent. The CCS had SS percentage of interaction between the genotype and the environment at lower percentage of SS (9 percent) of cane yield and sugar yield at 31.08 percent and 27.20 percent respectively. Considering GGE biplot, it was found that the appropriate cane cultivar for plantation were Khon Kaen 3, Kamphaeng Saen 07-29-1, Kamphaeng Saen 07-10-3, and Kamphaeng Saen 07-30-3 which had outstandingness of cane yield in general cane planting areas. In the CCS aspect, it was found that Khon Kaen 3 showed higher outstandingness to grow in general cane planting areas than other cultivars. When considering sugar yield, it was found that Khon Khaen 3 showed high outstandingness. Kamphaeng Saen 07-29-1 and Kamphaeng Saen 07-10-3 showed outstandingness. Trials with high discrimination of cane yield and sugar yield appropriate for planting in general areas were Saraburi trial, Uttaradit trial, and Ratchaburi trial. For Udon Thani trial and Nakhon Ratchasima trial, there were rather specifically different outstanding cultivars. In the CCS, it was found that Uttaradit trial, Ratchaburi trial, and Nakhon Ratchasima trial showed a general outstanding cultivar showing the CCS aspects. Regarding the Kamphaengpet trial and Udon Thani trial, there were outstanding cultivars in the CCS aspects which were rather different from each other.


 


บทคัดย่อ


          งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบพันธุ์อ้อยกำแพงแสนจำนวน 10 พันธุ์ของศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชุดปี 2007 โดยมีพันธุ์ขอนแก่น 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ จำนวน 9 แปลง แต่ละแปลงวางแผนการทดลองแบบ RCBD ซึ่งทำซ้ำ 3 ครั้ง จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนของผลผลิตอ้อย
ซีซีเอส (CCS) และผลผลิตน้ำตาลในอ้อยตอที่ 1 พบว่าสภาพแวดล้อมมีผลมากต่อความแปรปรวนในอ้อยตอ
ในทุกลักษณะ มีเปอร์เซ็นต์ Sum of Squares สูงมากกว่า 50% โดยเฉพาะซีซีเอส (CCS) มีเปอร์เซ็นต์สูงถึง 79.32% ซีซีเอส (CCS) มี %SS ของปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่า (9.00%) ค่า %SS ของผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาล 31.08 และ 27.20% ตามลำดับ จากการพิจารณาค่า GE scores และภาพ biplot โดยวิธี GGE biplot พบว่าที่เหมาะสมสำหรับปลูก ได้แก่ พันธุ์ขอนแก่น 3 กำแพงแสน 07-29-1 กำแพงแสน 07-10-3 และกำแพงแสน 07-30-3 ซึ่งแสดงความดีเด่นของผลผลิตอ้อยในพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วไป ส่วนลักษณะซีซีเอส (CCS) พบว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 แสดงความดีเด่นมากกว่าพันธุ์อื่นในพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วไป เมื่อพิจารณาผลผลิตน้ำตาลพบว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 แสดงความดีเด่นสูง มีพันธุ์กำแพงแสน 07-29-1
และกำแพงแสน 07-30-3 แสดงความดีเด่น ส่วนแปลงทดสอบพันธุ์ที่มีศักยภาพสำหรับแบ่งแยกพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ในลักษณะผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาล ได้แก่ แปลงสระบุรี อุตรดิตถ์ และแปลงราชบุรี ส่วนแปลงอุดรธานี และแปลงนครราชสีมามีพันธุ์ที่ดีเด่นเฉพาะที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ส่วนในลักษณะซีซีเอส (CCS) พบว่าแปลงอุตรดิตถ์ ราชบุรี และแปลงนครราชสีมา แสดงพันธุ์ดีเด่นโดยทั่วไปในลักษณะซีซีเอส (CCS) ส่วนแปลงกำแพงเพชร และแปลงอุดรธานี มีพันธุ์ดีเด่นในลักษณะซีซีเอส (CCS) ที่เฉพาะค่อนข้างแตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )

References

ชูศักดิ์ จอมพุก. (2551). สถิติ: การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชไร่ด้วย R. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2560). รายงานพื้นที่การปลูกอ้อยปีการผลิต 2559/2560. สืบค้นจาก www.ocsb.go.th.

Jackson, P., & McRae, T. A. (2001). Selection of sugarcane clones in small plots: effects of plot size and selection criteria. Crop science, 41(2), 315-322.

Kimbeng, C.A., Rattey, A.R., & Hethrington, M. (2002). Plant Breeding-Mendellan Approaches. New Delhi, India: Narosa

Mirzawan, P. D. N., Cooper, M., & Hogarth, D. M. (1993). The impact of genotype multiply environment interactions for sugar yield on the use of indirect selection in southern Queensland. Australian Journal of Experimental Agriculture, 33(5), 629-638.

Venables, W.N., Smith, D.M., & The R Development Core Team. (2009). An Introduction to R. Retrieved June, 23, 2012, from http://www.R-project.org.

Yan, W., Hunt, L. A., Sheng, Q., & Szlavnics, Z. (2000). Cultivar evaluation and mega‐environment investigation based on the GGE biplot. Crop science, 40(3), 597-605.