ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากของเสียโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ | Effects of Organic Fertilizer from Waste in Pulp and Paper Industry on Growth, Yield and Quality of Maize

Main Article Content

วิลัยรัตน์ แป้นแก้ว
ชัยสิทธิ์ ทองจู
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย
จุฑามาศ ร่มแก้ว
กนกกร สินมา
สิรินภา ช่วงโอภาส
เกวลิน ศรีจันทร์
อัญธิชา พรมเมืองคุก
สุชาดา กรุณา
ศิริสุดา บุตรเพชร
ชาลินี คงสุด
ธรรมธวัช แสงงาม
ธีรยุทธ คล้ำชื่น

Abstract

          This study investigated the effects of organic fertilizer (OF) from waste in pulp and paper industry on growth, yield and quality of hybrid maize (Seeds Tech 188) planted in Kamphaeng Saen soil series.
The experimental design was arranged in a Randomized Complete Block Design (RCBD) with 3 replications and 10 treatments. The results showed that the application of OF-D of 400 kg/rai in combination with chemical fertilizers (CF) containing all major elements equivalent to 400 kg/rai of the OF-D provided the highest of plant height and leaf greenness (SPAD reading) which was not significantly different from the application of OF-D of 800 kg/rai. Furthermore, the application of OF-D of 400 kg/rai in combination with chemical fertilizers containing all major elements equivalent to 400 kg/rai of the OF-D provided the highest of unhusked ear weight, husked ear weight, grain weight, 1,000 grain weight, total N and protein in grain which was not significantly different from the application of OF-D of 800 kg/rai and the application of OF-C of 400 kg/rai in combination with chemical fertilizers containing all major elements equivalent to 400 kg/rai of the OF-C.


 


บทคัดย่อ


          ศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์จากของเสียโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ซีดส์เทค 188 ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD ทำซ้ำจำนวน 3 ครั้ง ตำรับทดลอง 10 ตำรับ ผลการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร D อัตรา 400 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในปุ๋ยอินทรีย์สูตร D อัตรา 400 กก./ไร่ มีผลให้ความสูงต้นและค่าความเขียวของใบข้าวโพดมากที่สุด แต่ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร D อัตรา 800 กก./ไร่ นอกจากนี้ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร D อัตรา 400 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในปุ๋ยอินทรีย์สูตร D อัตรา 400 กก./ไร่ ยังมีผลให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือก น้ำหนักฝักปอกเปลือก น้ำหนักเมล็ด น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด และปริมาณโปรตีนของเมล็ดข้าวโพดมากที่สุด แต่ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร D อัตรา 800 กก./ไร่ และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร C อัตรา 400 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในปุ๋ยอินทรีย์สูตร C อัตรา 400 กก./ไร่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )

References

กรมวิชาการเกษตร. (2553). คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กัญณัฎฐ์ ภรณ์สิริภัสร์, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ศุภชัย อำคา, จุฑามาศ ร่มแก้ว, ชาลินี คงสุด และวิชญ์ ชินธรรมมิตร. (2555). ผลของปุ๋ยหมักกากสบู่ดำต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. (น.1235-1247) ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. (2558). คู่มือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางดิน ระบบโสตทัศนูปกรณ์. นครปฐม: คณะเกษตร กำแพงแสน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จันจิรา แสงสีเหลือง, ชัยสิทธิ์ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว และเกรียงไกร แก้วตระกูลพงษ์. (2552). ผลของวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. (น. 19-28). ใน การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 6 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ชัยวัฒน์ วงษ์ไร, ชัยสิทธิ์ ทองจู, สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์, ชาลินี คงสุด, ธีรยุทธ คล้ำชื่น, ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, ธนศมณท์ กุลการัณย์เลิศ, อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ และศิริสุดา บุตรเพชร. (2558). ผลของกากตะกอนยีสต์จากโรงงานเอทานอลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์แปซิฟิค 999. ใน การประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติครั้งที่ 4 “ธรรมชาติของดินและความจริงของปุ๋ยเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน”. (น. 188-195). สงขลา: กรมพัฒนาที่ดิน.

ชัยสิทธิ์ ทองจู, สิรินภา ช่วงโอภาส, สุชาดา กรุณา, สัญชัย ภู่เงิน, อัญธิชา พรมเมืองคุก, และธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. (2561). รายงานโครงการพัฒนาวิชาการฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล และอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับพืชเศรษฐกิจในสภาพแปลง”. (น.195). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีระพงษ์ พรมสวัสดิ์, ชัยสิทธิ์ ทองจู, และจุฑามาศ ร่มแก้ว. (2553). ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับยิปซัมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. (น.43-53). ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ธนศมณท์ กุลการัณย์เลิศ, ชัยสิทธิ์ ทองจู และศุภชัย อำคา. (2555). ผลของกากน้ำตาลผงชูรส (อามิ-อามิ) ผสมขี้เถ้าลอยต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์แปซิฟิค 999. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(1), 29-41.

ธนศมณท์ กุลการัณย์เลิศ, ชัยสิทธิ์ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว และธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. (2561). การใช้ประโยชน์ผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(1), 40-49.

พฤหัส ศรีขวัญ, ชัยสิทธิ์ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว และธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. (2560). ผลของปุ๋ยไนโตรเจนปลดปล่อยช้าที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(2), 10-21.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2558-2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Azmal, A. K. M., Marumoto, T., Shindo, H., & Nishiyama, M. (1996). Mineralization and microbial biomass formation in upland soil amended with some tropical plant residues at different temperatures. Soil science and plant nutrition, 42(3), 463-473.

Berendse, F. (1990). Organic matter accumulation and nitrogen mineralization during secondary succession in heathland ecosystems. The Journal of Ecology, 413-427.

Bray, R. H., & Kurtz, L. T. (1945). Determination of total, organic, and available forms of phosphorus in soils. Soil science, 59(1), 39-46