ศักยภาพของพันธุ์อ้อยกำแพงแสนเมื่อเก็บเกี่ยวเร็วในลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยตอ | Potential in Early Harvesting of Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties in Yield and Yield Components of Ratoon Cane

Main Article Content

รุ่งทิพย์ บุญสุวรรณ์
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน

Abstract

          Trials on early harvesting of sugarcane at 7, 8 and 9 months of 5 sugarcane varieties at
3 locations were conducted to study the potential in biomass or fresh weight for continuously ethanol production. The plot size of each experiment was composed of 3 rows of 8 meters in length. The data collected were total fresh weight (TFW), stem fresh weight (SFW), leaf fresh weight (LFW), fiber percentage and percentage of stem fresh weight and total fresh weight (SFW/TFW). The results revealed that locations had different effect to various characters of fresh weight. Location of Kamphaeng Saen had opposite results to location of Mae Ramad in which Kamphaeng Saen had high LFW and fiber percentage while Mae Ramad had high TFW, SFW and percentage of SFW/TFW. Location of Pob Pra had moderate values between the above 2 locations in almost characters, except fiber percentage. For early harvesting periods, harvesting at 9 months had the highest values in every characters of fresh weight significantly different with early harvesting at 8 months and 7 months, except LFW. The potential sugarcane variety was Kamphaeng Saen 01-12 which had the highest fresh weight, especially in TFW, SFW and percentage of SFW/TFW, especially in Mae Ramad and Kamphaeng Saen. The high potential sugarcane varieties in Pob Pra was Kamphaeng Saen 07-30-1. There were not significant differences among sugarcane varieties in LFW and fiber percentage, especially at Kamphaeng Saen. Moreover, Kamphaeng Saen 01-12 had high potential in every early harvesting periods in TFW, SFW and percentage of SFW/TFW. While Kamphaeng Saen 01-29 had high potential in LFW and Kamphaeng Saen 00-105 had high potential in fiber percentage.


 


บทคัดย่อ


          ผู้วิจัยได้ทำแปลงทดสอบเก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 7 เดือน 8 เดือน 9 เดือน ของอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 5 พันธุ์ ที่แปลงทดสอบจำนวน 3 แปลง เพื่อศึกษาศักยภาพในการให้ชีวมวลหรือน้ำหนักสดสำหรับการผลิตเป็นเอทานอลอย่างต่อเนื่อง แต่ละแปลงทดสอบมีแปลงย่อยประกอบด้วย 3 แถว แถวยาว 8 เมตร ผลการทดลองพบว่า แปลงทดสอบมีผลต่อลักษณะต่างๆ ของน้ำหนักสดต่างกัน โดยแปลงกำแพงแสนมีผลตรงข้ามกับแปลงแม่ระมาด ทั้งนี้แปลงกำแพงแสนมีน้ำหนักสดใบและเปอร์เซ็นต์เส้นใยที่สูง ในขณะที่แปลงแม่ระมาดมีน้ำหนักสดรวม น้ำหนักสดลำ และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักสดลำต่อน้ำหนักสดรวมที่สูง ส่วนแปลงพบพระมีค่าระหว่าง 2 แปลงข้างต้นในเกือบทุกลักษณะ ยกเว้นเปอร์เซ็นต์เส้นใย เมื่อพิจารณาอายุเก็บเกี่ยว พบว่า อายุเก็บเกี่ยวเร็วที่ 9 เดือน มีน้ำหนักสดสูงสุดในทุกลักษณะของน้ำหนักสดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน และ 7 เดือน ยกเว้นเปอร์เซ็นต์น้ำหนักสดลำต่อน้ำหนักสดรวม โดยแปลงแม่ระมาดและแปลงพบพระ มีศักยภาพสูงกว่าแปลงกำแพงแสน ในลักษณะน้ำหนักสด ได้แก่ น้ำหนักสดรวม น้ำหนักสดลำและเปอร์เซ็นต์น้ำหนักสดลำต่อน้ำหนักสดรวม ยกเว้นน้ำหนักสดใบ ส่วนพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพ ได้แก่พันธุ์กำแพงแสน 01-12 ที่มีศักยภาพสูงในลักษณะน้ำหนักสด โดยเฉพาะน้ำหนักสดรวม น้ำหนักสดลำและเปอร์เซ็นต์น้ำหนักสดลำต่อน้ำหนักสดรวม โดยเฉพาะแปลงแม่ระมาดและแปลงกำแพงแสน ส่วนพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงในแปลงพบพระเป็นพันธุ์กำแพงแสน 07-30-1 โดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างพันธุ์อ้อยในลักษณะน้ำหนักสดใบและเปอร์เซ็นต์เส้นใย โดยเฉพาะที่แปลงกำแพงแสน นอกจากนี้ พบว่า พันธุ์กำแพงแสน 01-12 มีศักยภาพสูงเมื่อเก็บเกี่ยวเร็วทุกระยะเก็บเกี่ยว ในลักษณะน้ำหนักสดรวม น้ำหนักสดลำ และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักสดลำต่อน้ำหนักสดรวม ส่วนพันธุ์กำแพงแสน 01-29 มีศักยภาพในน้ำหนักสดใบและพันธุ์กำแพงแสน 00-105 มีศักยภาพในลักษณะเปอร์เซ็นต์เส้นใย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )

References

ชุติมา ศรีงิ้ว. (2548). การผลิตเอทานอลเชื้อเพลิงจากน้ำตาลอ้อยโดยยีสต์ที่ทนอุณภูมิสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชูศักดิ์ จอมพุก. (2555). สถิติ: การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย “R” (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 336). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล. (2559). โครงการจัดทำยุทธศาสตร์และประเมินประสิทธิภาพการใช้อ้อยและผลิตภัณฑ์จากอ้อย ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio-fuels). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 สืบค้นจาก www.ocsb.go.th.

Nakashima, G. T., Martins, M. P., Hansted, A. L. S., Yamamoto, H., & Yamaji, F. M. (2017). Sugarcane trash for energy purposes: Storage time and particle size can improve the quality of biomass for fuel?. Industrial Crops and Products, 108, 641-648.

Goldemberg, J., Coelho, S. T., & Guardabassi, P. (2008). The sustainability of ethanol production from sugarcane. Energy policy, 36(6), 2086-2097