ผลของขนาดเส้นพลาสติกต่อกำลังต้านทานแรงอัดของอิฐดินดิบที่เสริมกำลังด้วยพลาสติกโพลีเอทิลีน | Effects of Plastic Strip Sizes on Compressive Strength of the Adobe Bricks Reinforced by Polyethylene Plastic
Main Article Content
Abstract
Manufacturing of clay bricks to be used in house construction requires raw materials such as clay and natural fibers. However, natural fibers have lower durability. The researcher was interested in replacing natural fibers with plastic strips. The purpose of this article was to determine the effects of the sizes and quantity of polyethylene fiber on the strength of adobe bricks. This study used polyethylene strips with a width of 0.25 cm and 0.5 cm and with aspect ratios of 1:1, 1:5, and 1:10. They were mixed with clay and both one size and two assorted sizes were made. Meanwhile, the volumes of each plastic strip from 0%-2% were controlled by the weight of dry soil. The unconfined compression test was performed on the samples. The suitable ratios were selected to produce adobe bricks and then the compressive strengths were investigated. The results revealed that the clay samples had high plasticity and the maximum dry density was equal to 1.346 ton/m3 at 30% of optimum water content. The unconfined compressive strengths (qu) of the clay mixed with plastic strips were between 1.47-3.74 kg/cm2 with 1:5 of the aspect ratio. This aspect ratio achieved the maximum unconfined compressive strength, followed by the aspect ratio of 1:10 and 1:1, respectively. However, the unconfined compressive strength did not vary significantly with the number and the size of plastic strips but it depended on the distribution opportunities and the pattern of laid strips in the soil texture.The compressive strength test of adobe bricks showed that the plastic strip with a size of 0.25x1.25 cm achieved the maximum compressive strength which equals to 13.54 kg/cm2, and both plastic strips with the two sizes of 0.5x0.5 cm with 0.5x2.5 cm and the single size 0.5x2.5 cm achieved lower compressive strength, respectively.
บทคัดย่อ
กระบวนการผลิตอิฐดินดิบเพื่อการก่อสร้างบ้านดินจำต้องใช้วัตถุดิบหลักคือดินเหนียวและเส้นใยธรรมชาติ แต่เส้นใยธรรมชาติมีข้อจำกัดในด้านความคงทนถาวร ผู้วิจัยจึงให้ความสนใจนำเส้นพลาสติกมาใช้ทดแทนเส้นใยธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของขนาดและปริมาณของเส้นพลาสติกโพลีเอทิลีนที่มีต่อกำลังต้านทานแรงอัดของอิฐดินดิบ การทดลองจะใช้เส้นพลาสติกโพลีเอทิลีนขนาดกว้าง 0.25 ซม. และ 0.5 ซม. ที่มีรูปทรงอัตราส่วนความยาว 1:1, 1:5, และ 1:10 ผสมกับดินเหนียวด้วยเส้นขนาดเดียวและแบบคละสองขนาด กำหนดสัดส่วนของเส้นพลาสติกแต่ละขนาดด้วยปริมาณร้อยละ 0-2 โดยน้ำหนักของดินแห้ง นำตัวอย่างทดลองไปทดสอบแรงอัดแกนเดียว จากนั้นจึงคัดเลือกอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อนำไปผลิตเป็นอิฐดินดิบแล้วศึกษากำลังอัดของก้อนอิฐ ผลการศึกษาพบว่า ดินเหนียวทดลองมีความเป็นพลาสติกสูง มีความหนาแน่นแห้งสูงสุด 1.346 ตัน/ลบ.ม. ที่ปริมาณน้ำที่เหมาะสมร้อยละ 30 ผลของกำลังอัดแกนเดียว (qu) ของดินเหนียวผสมเส้นพลาสติกมีค่าอยู่ระหว่าง 1.47-3.74 กก./ตร.ซม. โดยเส้นพลาสติกอัตราส่วนความยาว 1:5 ให้กำลังอัดแกนเดียวสูงที่สุด รองลงมาคืออัตราส่วนความยาว 1:10 และ 1:1 ตามลำดับ ทั้งนี้กำลังอัดแกนเดียวไม่ได้แปรผันตามปริมาณและขนาดของเส้นพลาสติกอย่างมีนัยสำคัญแต่ขึ้นอยู่กับโอกาสกระจายตัวและรูปแบบการวางตัวของเส้นพลาสติกในเนื้อดิน ผลการทดสอบกำลังอัดของอิฐดินดิบพบว่า เส้นพลาสติกขนาด 0.25x1.25 ซม. ให้กำลังรับแรงอัดสูงที่สุดเท่ากับ 13.54 กก./ตร.ซม. รองลงมาได้แก่ ส่วนผสมเส้นพลาสติกแบบคละขนาด 0.5x0.5 ซม. กับ 0.5x2.5 ซม. และเส้นพลาสติกขนาด 0.5x2.5 ซม. ตามลำดับ
Downloads
Article Details
References
จรุญศรี โชคศิริวรรณา. (2553). คุณสมบัติทางกายภาพและความร้อนของก้อนอิฐดินดิบผสมกากอ้อยเพื่อการก่อสร้างบ้านดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
ชูศักดิ์ คีรีรัตน์ และสุธน รุ่งเรือง. (2562). การพัฒนาก้อนอิฐดินดิบผสมใบกล้วยและขุยมะพร้าวเพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างสำหรับบ้านดิน.วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 4(1), 8-15.
ณภัทร ศรีวัฒนประยูร, นฤมล แสนเสนา, และพิมพ์ณภัท จันทร์ศรี. (2552). การศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังของบ้านดิน. ใน รายงานผลการวิจัยประจำปี 2552. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณภัทร ศรีวัฒนประยูร. (2557). เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 จาก https://issuu.com
/irdrmutt/docs/0.2___86229860fc90da.
ทรงกลด ศรีวัฒนวรัญญู. (2551). การพัฒนาอิฐดินดิบผสมหญ้าแฝกเพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างบ้านต้นทุนต่ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ทักษ์ดนัย ก่วนสกุล และเบญญาภา บุญผดุง. (2556). ความสามารถในการรับกาลังอัดสูงสุดของอิฐดินดิบที่มีขุยมะพร้าว แกลบ ผักตบชวา เป็นใยประสาน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาตรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
ธราดล เสาร์ชัย. (2557). บ้านดิน: คุณสมบัติที่เหมาะสมกับการก่อสร้าง และใช้สอยในประเทศไทย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(1).109-119.
ปฐมพร พงษ์อารีย์, พิชญา เนาวโรจน์, พาวุฒิ ทองทับ, และพีรากร นิพขันธ์. (2561). กำลังรับแรงเฉือนของดินทรายผสมไฟเบอร์. ปริญญานิพนธ์ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
พันธกานต์ แสนสุข, และ ภาณุพณ จารุจารูญ. (2556). การศึกษาพฤติกรรมบล็อกดินดิบผสมชานอ้อย. ปริญญานิพนธ์ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปราจีนบุรี.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2554. โครงการโปรแกรมออกแบบและวิเคราะห์เสถียรภาพคันทางถนนเลียบคลองและถนนในพื้นที่ดินอ่อน ของกรมทางหลวงชนบท. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์ปี 2554. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รังสรรค์ โอภาสศิริวิทย์ และวีรชัย ขันอาษา. (2545). คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินเหนียวแห้งแข็งเสริมความแข็งแรงด้วยขยะพลาสติก. ปริญญานิพนธ์ปริญญาตรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ.
ศุภชัย มนนามอญ และพรชัย เทพปัญญา. (2557). การประเมินผลประสิทธิภาพบ้านดินในท้องถิ่นชนบท. วารสารวิทยาลัยบัณฑิต
ศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(2), 62-79.
สิทธิพงษ์ เพิ่มพิทักษ์. (2554). เทคนิควิธีการสร้างบ้านดิน. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(2), 93-102.
สิรัญญา ทองชาติ. (2557). ข้อมูลลักษณะชั้นดินภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 3(2), 74-92.
สุรพงษ์ ดาราม. 2558. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างบ้านดินด้วยอิฐดินดิบ. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 20, 8-10 กรกฎาคม 2558. (น. 534-541). ชลบุรี: ผู้แต่ง
เสน่ห์ รัตนปัญญาเจริญ, ชัยวัฒน์ ตั้งใจ, และฤกษ์ชัย สว่างสินธุ์. (2550). การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของอิฐดินดิบผสมหญ้าแฝกและฟางข้าวเพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างบ้านต้นทุนต่ำ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
เอกรัตน์ รอดบำรุง. (2545). ผลกระทบของเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่มีต่อคุณสมบัติด้านวิศวกรรมของดินเหนียว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.
Andersland, O. B. (1979). Shear strength of kaolinite/fiber soil mixture. In Proc. of the 1st Int. Conf. on Soil Reinforcement. Paris, France: np.
Bahobail, M. A. (2012). The mud additives and their effect on thermal conductivity of adobe bricks. JES. Journal of Engineering Sciences, 40(1), 21-34.
Binici, H. (2017). The Engineering Properties of Traditional and Fibre Reinforced Mud Brick. European Journal of Advances in Engineering and Technology, 4(5), 311-318.
Bock-Hyeng, C., Ofori-Boadu, A. N., Yamb-Bell, E., & Shofoluwe, M. A. (2016). Mechanical properties of sustainable adobe bricks stabilized with recycled sugarcane fiber waste. International Journal of Engineering Research and Application, 6(9), 50-59.
Das, B. M. (2010). Principles of Geotechnical Engineering (7th ed.). (p. 666). USA: Cengage Learning, Nelson Education.
Delgado, M. C. J., & Guerrero, I. C. (2007). The selection of soils for unstabilised earth building: A normative review. Construction and building materials, 21(2), 237-251.
Freitag, D. R. (1986). Soil randomly reinforced with fibers. Journal of Geotechnical Engineering, 112(8), 823-826.
Lertwattanaruk, P., & Choksiriwanna, J. (2011). The physical and thermal properties of adobe brick containing bagasse for earth construction. International Journal of Building, Urban, Interior and Landscape Technology (BUILT), 1, 57-66.
Lertwattanaruk, P., & Tungsirisakul, J. (2007). Effect of natural materials on properties of adobe brick for earth construction. Journal of architectural/planning research and studies (JARS), 5(1), 185-200.
Li, J., Tang, C., Wang, D., Pei, X., & Shi, B. (2014). Effect of discrete fibre reinforcement on soil tensile strength. Journal of Rock Mechanics and Geotechnical Engineering, 6(2),133-137.
Maher, M. H., & Ho, Y. C. (1994). Mechanical properties of kaolinite/fiber soil composite. Journal of Geotechnical Engineering, 120(8), 1381-1393.
Plé, O., & Lê, T. N. H. (2012). Effect of polypropylene fiber-reinforcement on the mechanical behavior of silty clay. Geotextiles and Geomembranes, 32, 111-116.