ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้ของเครื่องกำจัดเศษขยะต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของอ้อยที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน | Effect of Organic Fertilizer from the by-Product of Oklin Composter on Growth and Yield of Sugarcane Planted in Kamphaeng Saen Soil Series

Main Article Content

ทินกร ปัทเมฆ
ชัยสิทธิ์ ทองจู
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย
จุฑามาศ ร่มแก้ว
เกวลิน ศรีจันทร์
อัญธิชา พรมเมืองคุก
สุชาดา กรุณา
ศิริสุดา บุตรเพชร
ชาลินี คงสุด
ธรรมธวัช แสงงาม
ธีรยุทธ คล้ำชื่น

Abstract

        This study investigated the effect of organic fertilizer (OF) from the by-product of Oklin Composter on growth and yield of sugarcane var. Kamphaeng Saen 01-4-29 planted in Kamphaeng Saen soil series. Experimental design was arranged in Randomized Complete Block Design (RCBD) with3 replications consisting of 8 treatments. The results showed that the OF-C application of 325 kg/rai in combination with chemical fertilizer (CF) containing all major elements (N, P and K) equivalent to 325 kg/rai of the OF-C (OF-C325+CFOF-C-325, T8) provided the highest plant height, leaf greenness (SPAD unit), weight/stalk and sugar yield which was not significantly different from the OF-A application of 325 kg/rai in combination with CF containing all major elements equivalent to 325 kg/rai of the OF-A (OF-A325+CFOF-A-325, T4). Furthermore, the OF- C325+CFOF-C-325 (T8) provided the highest number of stalk within one-meter row and stalk height which was not significantly different from the OF-A325+CFOF-A-325 (T4) and the OF-B application of 325 kg/rai in combination with CF containing all major elements equivalent to 325 kg/rai of the OF-B (OF-B325+CFOF-B-325, T6). While, the OF-C325+CFOF-C-325 (T8) provided the highest stalk diameter and CCS which was not significantly different from the OF-A325+CFOF-A-325 (T4), OF-B325+CFOF-B-325 (T6), the application of CF based on soil chemical analysis (CFDOA, T2) and the OF-C application of 650 kg/rai (OF-C650, T7).


 


บทคัดย่อ


        ศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้ของเครื่องกำจัดเศษขยะต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 01-4-29 ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (RCBD) ทดลองซ้ำจำนวน 3 ครั้ง ประกอบด้วย 8 ตำรับทดลอง ผลการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร C อัตรา 325 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลัก (N, P และ K) ในปุ๋ยอินทรีย์สูตร C อัตรา 325 กก./ไร่ (OF-C325+CFOF-C-325, T8) มีผลให้ความสูงของต้น ค่าความเขียวของใบ น้ำหนักต่อลำ และผลผลิตน้ำตาลของอ้อยมากที่สุด ไม่แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร A อัตรา 325 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในปุ๋ยอินทรีย์สูตร A อัตรา 325 กก./ไร่ (OF-A325+CFOF-A-325, T4) นอกจากนี้ OF-C325+CFOF-C-325 (T8) มีผลให้จำนวนลำใน 1 แถวเมตร และความยาวลำของอ้อยมากที่สุด ไม่แตกต่างกับ OF-A325+CFOF-A-325 (T4) และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร B อัตรา 325 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในปุ๋ยอินทรีย์สูตร B อัตรา 325 กก./ไร่ (OF-B325+CFOF-B-325, T6) ขณะที่ OF-C325+CFOF-C-325 (T8) มีผลให้เส้นผ่านศูนย์กลางลำ และค่า CCS ของอ้อยมากที่สุด ไม่แตกต่างกับ OF-A325+CFOF-A-325 (T4), OF-B325+CFOF-B-325 (T6), การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (CFDOA, T2) และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร C อัตรา 650 กก./ไร่ (OF-C650, T7)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )

References

กรมวิชาการเกษตร. (2553). คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กาญจนา มาล้อม, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ทศพล พรพรหม, วิภาวรรณ ท้ายเมือง, ชาลินี คงสุด, ธีรยุทธ
คล้ำชื่น, ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, และศิริสุดา บุตรเพชร. (2557). ผลของน้ำวีแนสจากโรงงานเอทานอลที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ. (น. 81-93). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. (2558). คู่มือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางดิน ระบบโสตทัศนูปกรณ์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุฑามาศ กล่อมจิตร, ชัยสิทธิ์ ทองจู, และจุฑามาศ ร่มแก้ว. (2553). ผลของวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยตอปีที่ 1 ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแส. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ. (น. 148-159). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชาลินี คงสุด, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, และธีรยุทธ คล้ำชื่น. (2562). การจัดการปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้โรงงานน้ำตาลต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตของอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 และสมบัติของดินบางประการ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ, 2(2), 35-47.

ชัยสิทธิ์ ทองจู, ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, ศุภชัย อำคา, และธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. (2560). ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากผลพลอยได้ของโรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อย และสมบัติของดิน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(1), 21-32.

ณัฐภัทร ถาวรกิจการ, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย
อินทร์บุญช่วย, ทศพล พรพรหม, และธีรยุทธ คล้ำชื่น. (2562). ผลของการจัดการปุ๋ยเคมีร่วมกับซิลิคอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยตอ (ปีที่ 1) ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ, 2(1), 68-81.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. (2542). แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและพืช. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.

ธงชัย มาลา. (2546). ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ: เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ศุภชัย อำคา,
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, และพงษ์เพชร พงษ์ศิวาภัย. (2560). ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อสมบัติดิน ผลผลิต และองค์ประกอบของผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 35(3), 19-28.

ภิญญาพัชญ์ มิ่งมิตร, ชัยสิทธิ์ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว, สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์, และธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. (2561). ผลของการจัดการปุ๋ยร่วมกับโบรอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(1), 1-14.

ยงยุทธ โอสถสภา. (2528). หลักการผลิตและการใช้ปุ๋ย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ยศวดี เม่งเอียด, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, จุฑามาศ ร่มแก้ว, ธรรมธวัช แสงงาม, และธีรยุทธ คล้ำชื่น. (2561). ผลของการจัดการปุ๋ยเคมีร่วมกับโบรอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยตอ (ปีที่ 1) ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ, 1(2), 80-94.

โรจน์ เทพพูลผล. (2525). รายงานการสำรวจความเหมาะสมของดิน ฉบับที่ 311 รายงานการสำรวจดินจังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สันติภาพ ทองอุ่น, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธงชัย มาลา, ศุภชัย
อำคา, วิภาวรรณ ท้ายเมือง, ชาลินี คงสุด, ธีรยุทธ คล้ำชื่น, ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, และศิริสุดา บุตรเพชร. (2557). ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากกากตะกอนยีสต์และน้ำวีแนสต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยตอปีที่ 1. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ. (น. 39-52). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2559-2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Bray, R. H., & Kurtz, L. T. (1945). Determination of total, organic, and available forms of phosphorus in soils. Soil science, 59(1), 39-46.

Meade, G. P., & Chen, J. C. (1977). Cane sugar handbook. A manual for cane sugar manufacturers and their chemists (10th ed.). New York: John Wiley and Sons.

Pratt, P.F. (1965). Potassium. In C.A. Black, (Eds.) Methods of Soil Analysis. Part II. (pp. 1022-1030.) Madison, Wisconsin: American Society of Agronomy

Thongjoo, C., Miyagawa, S., & Kawakubo, N. (2005). Effects of soil moisture and temperature on decomposition rates of some waste materials from agriculture and agro-industry. Plant production science, 8(4), 475-481.

Walkley, A., & Black, I. A. (1934). An examination of the Degtjareff method for determining soil organic matter, and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil science, 37(1), 29-38.