การศึกษาการปรับปรุงแบบลีนในกระบวนการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ห้องครัวบนเครื่องบิน | Study of Lean Improvement System in Warehouse: Case Study of An Aircraft Galley Part and Equipment Manufacturing Company

Main Article Content

วริษา สุภายะ
สมเกียรติ น่วมนา
ศศิธร บรรจงจิตต์
ศศิชา ทองอำไพ

Abstract

          This research aims to study and improve warehouse process by applying the concept of Lean Manufacturing System to reduce waste in the warehouse management process. The authors conducted study on a current state of the studied company by using the value stream mapping (VSM) and evaluated the current working methods to improve operation by focusing on reducing waste in the working process. ECRS technique was applied as a guideline to improve working methods of workers in the warehouse department. The results after the improvement showed that the operational time of the warehouse department could be reduced to 136.20 seconds, and the working process of the warehouse staff of the studied company was successfully adjusted so that its procedure and operational time could be more balanced and effective.


 


บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำการปรับปรุงกระบวนการคลังสินค้าโดยประยุกต์ใช้แนวคิดระบบการผลิตแบบลีน เพื่อช่วยลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดการคลังสินค้า ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาสภาพปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาจากการใช้แผนภาพสายธารแห่งคุณค่า (Value stream mapping : VSM) และใช้การศึกษาวิธีการทำงานในปัจจุบันเพื่อทำการปรับปรุงการทำงาน โดยมุ่งเน้นในการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน และนำหลักการ ECRS มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำงานของพนักงานในฝ่ายคลังสินค้า ซึ่งผลของการวิจัยหลังการปรับปรุงพบว่าสามารถลดเวลาในการดำเนินงานของกระบวนการในฝ่ายคลังสินค้าลงได้ 136.20 วินาที และสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานในฝ่ายคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาให้มีขั้นตอน และเวลาในการทำงานที่มีความสมดุลและมีประสิทธิเพิ่มขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering )

References

ชัยวัฒน์ ศรีไชยแสง. (2555). การปรับปรุงระบบการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการผลิตแบบลีน (กรณีศึกษา: อุตสาหกกรมการผลิตอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ลือชัย หมอกโคกสูง. (2557). การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนเพื่อลดเวลาในการออกแบบผลิตภัณฑ์ (กรณีศึกษา: บริษัท ผู้ผลิตลิฟต์ และบันไดเลื่อน จำกัด). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ศุรนิตย์ สามารถ. (2559). การนำแนวคิดลีนมาใช้ในการลดต้นทุนในการดำเนินงานกรณีศึกษา โรงงานพลาสติก ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.