ผลของชนิดวัสดุคลุมดินต่อการควบคุมวัชพืชในการผลิตเมล็ดพันธุ์หลัก ข้าวไร่พันธุ์ อาร์ 258 : กรณีศึกษา ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ | Effect of Mulching Materials on Weed Control in Foundation Seed Production of R 258 Upland Rice Variety: A Case Study of Samoeng Rice Research Center, Chiang Mai Province
Main Article Content
Abstract
Upland rice is a crop that requires less water by relying on natural rain water to grow, which often suffers from weed problems resulting in reduced yields. The purpose of this research was to investigate the effects of different mulching materials on weed control in foundation seed production of R 258 upland rice variety, a case study of Samoeng Rice Research Center. The experimental design was CRD consisting of five treatments: 1) black plastic; 2) greenhouse light black 80%; 3) greenhouse light green 80%; 4) paper of rice straw; and 5) no mulching (control). The data was collected for growth, yield component and yield of upland rice. Density, dry weight; and Summed Dominance Ratio (SDR) for weed at 4 and 8 weeks after plant were also collected. The result showed that the mulch affected the density and dry weight of weeds. Mulching the soil with black plastic, greenhouse light black 80% and greenhouse light green 80% had comparable weed control efficiency. However, the use of black plastic resulted in the highest average yield. The paper of rice straw did not control the growth of weeds as much as having no mulching materials, and weeds tend to increase.
บทคัดย่อ
ข้าวไร่เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยสามารถปลูกบนที่ดอนภายใต้สภาพไร่ โดยอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ในการเจริญเติบโต ซึ่งมักพบปัญหาวัชพืชทำให้ผลผลิตลดลง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุคลุมดินต่อการควบคุมวัชพืชในการผลิตเมล็ดพันธุ์หลักของข้าวไร่พันธุ์ อาร์ 258 ดำเนินการทดลองณ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ CRD ทดลองซ้ำ 3 ครั้ง สิ่งทดลอง คือวัสดุคลุมดิน 5 ชนิด ประกอบด้วย 1) แผ่นพลาสติกดำ 2) ตาข่ายพรางแสงสีดำ 80 % 3) ตาข่ายพรางแสงสีเขียว 80 % 4) กระดาษจากฟางข้าว และ 5) ไม่มีวัสดุคลุม บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของข้าวไร่ และเก็บข้อมูลความหนาแน่นและการสะสมน้ำหนักของวัชพืชที่ 4 และ 8 สัปดาห์หลังปลูก พบว่า ชนิดของวัสดุคลุมดินมีผลต่อความหนาแน่นและน้ำหนักแห้งของวัชพืช ซึ่งการคลุมดินด้วยพลาสติกดำ ตาข่ายพรางแสงสีดำ 80% และตาข่ายพรางแสงสีเขียว 80% มีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชได้ดีไม่แตกต่างกัน โดยที่การใช้พลาสติกดำคลุมดินทำให้ค่าเฉลี่ยของผลผลิตของข้าวไร่สูงสุด ในทางกลับกันการใช้กระดาษจากฟางข้าวคลุมดินนั้นไม่สามารถควบคุมวัชพืชได้ โดยที่มีการเจริญเติบโตของวัชพืชเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างจากการไม่มีวัสดุคลุมดิน
Downloads
Article Details
References
(น. 1-28). กรุงเทพฯ: โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด.
บุญหงษ์ จงคิด. (2549). ข้าวและเทคโนโลยีการผลิต. (น. 184) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ, ณรงค์ คงมาก, ฐิรวุฒิ เสนาคำ, วิฑูรย์ ปัญญากุล, และไชยา เพ็งอุ่น. (2555). เกษตรกรรมทางเลือก: ความหมาย ความเป็นมา และเทคนิควิธี. (น. 202). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
กรมการข้าว. (2555). เทคโนโลยีการปลูกข้าวไร่อย่างยั่งยืน. (น. 116). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Ashton, F. M., & Crafts, A. S. (1981). Mode of Action of Herbicides (2nd ed.). (p. 525) USA: John Wiley & Sons, New York.
Hayat, K., Awan, I. U., & Hassan, G. (2003). Impact of Seeding Dates and Varieties on Weed Infestation, Yield and Component of Rice (Oryza Sativa L.) under Direct Wet-seeded Culture. Pakistan Journal of Weed Science Research, 9, 59-65.
Moody, K. (1989). Weeds Reported in Rice in South and Southeast Asia. (p. 442). Philippines: International Rice Research Institute.
Jaithamcharoenporn, R. (2002). Studies on the Potential of Mulching Materials to Weed Control and Growth of the Create (Andrographis paniculatal) in Organic Agriculture. (p. 31). Master’s thesis, Kasetsart University, Thailand.
Monaco, T. J., Weller, S. C., & Ashton, F. M. (2002). Weed Science: Principles and Practices (4th ed.). (p. 671). New York: John Wiley and Sons Incorporated.
Nanthasamsaran, P., & Nitthachaiyawong, C. (2010). Effect of Mulching Materials on Weed Control in Pueraria Candollei Wall.ex Benth. var. mirifica (Airy Shaw and Suvatabandhu) Niyomdham. In Research Report. Bangkok: Department of Agriculture.